Monday, January 5, 2015

บทบาทของ Enterprise Architecture กับ Service Scienceในการจัดการธุรกิจยุคใหม่ ตอนที่ 10



ในบทความตอนที่ 9 ได้แนะนำวิธีการ (Methodology) และขั้นตอน (Processes) การสร้างสถาปัตยกรรมองค์กร TOGAF (The Open Group Architecture Framework)  และกล่าวว่า The Open Group Consortium ได้พัฒนาภาษาภาพ (Graphical language) ชื่อ ArchiMate สำหรับใช้ออกแบบ Models ทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ และมี Archi เป็นเครื่องมือแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยการออกแบบที่ใช้กับภาษา ArchiMate  ในบทความใหม่นี้จะอธิบาย Specification ของภาษา ArchiMate เพียงพอที่จะเข้าใจวิธีใช้ สำหรับรายละเอียดของภาษา ArchiMate นั้นสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือและบทความเกี่ยวกับ ArchiMate ที่ปรากฏเป็นจำนวนมากบนเว็บไซท์ ส่วนเครื่องมือ Archi เป็นโปรแกรม Open source ที่ดาวโหลดจากเว็บไซท์ได้เช่นกัน

3           ภาษาภาพ ArchiMate

การออกแบบระบบซอฟต์แวร์โดยทั่วไปเรานิยมใช้เทคนิคสร้างโมเดล หรือ Modeling โดยอาศัยภาษาภาพ (Graphical language) เช่นภาษา UML (Unified Modeling Language) เพื่องานพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 1  ใช้ภาษา BPMN (Business Process Model and Notation) เพื่อการออกแบบกระบวนการทำงาน (Business processes)  ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 2  สำหรับ ArchiMate เป็นภาษาภาพเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรตามตัวอย่างแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 1  ตัวอย่าง UML Model เพื่อการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์

รูปที่ 2  ตัวอย่าง BPMN Model เพื่อการออกแบบกระบวนการทำงาน

รูปที่ 3 ตัวอย่าง ArchiMate Model เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร

ArchiMate จึงถือว่าเป็น Modeling language สำหรับออกแบบ Enterprise Architecture ซึ่งเป็นการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมในระดับภาพกว้าง ๆ (Abstract) แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องลงรายละเอียดในส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างสถาปัตยกรรม เช่นรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน ก็สามารถกลับไปใช้ Modeling language เช่น BPMN ได้ ดังนั้น การออกแบบแผ่นพิมพ์เขียว สถาปนิกจะเลือกใช้ Modeling language ชุดใดก็ได้ขึ้นอยู่ที่รายละเอียดและ Concerns ของ Stakeholder

3.1    หลักการของภาษา ArchiMate
ตามที่กล่าวข้างต้นว่า ArchiMate เป็น Modeling language ที่ใช้ออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร โดยสร้างแผ่นพิมพ์เขียวในรูปแบบของ ArchiMate model ตามบริบทต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ของ Stakeholders ตามวัตถุประสงค์  ArchiMate กำหนดความสามารถในการสร้างแผ่นพิมพ์เขียวภายในกรอบดังปรากฏในรูปที่ 4


                               รูปที่ 4   The ArchiMate Framework

กรอบที่ใช้สร้างแผ่นพิมพ์เขียวของสถาปัตยกรรมองค์กรนั้นแบ่งเนื้อที่เป็น 3 ชั้น (Layer) หรือ Domain  ประกอบด้วย Business domain, Application domain, และ Technology domain ดังนี้

1)        ชั้นบนสุดมีไว้สำหรับแสดงแบบเกี่ยวกับ Business architecture ซึ่งหมายถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับระบบธุรกิจ ประกอบด้วยโครงสร้างขององค์กร การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ หรือเพื่อทำงานตามหน้าที่ภายในโครงการ นอกจากนี้ ยังเป็นการออกแบบวิธีและขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งการกำหนดชนิดข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วย
2)         ชั้นที่ 2 เป็นการออกแบบส่วนที่เกี่ยวกับ Application domain ซึ่งก็คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ (Information system) ที่มาสนับสนุนการทำงาน โดยส่วนนี้มีสถาปัตยกรรมสองส่วน ได้แก่ Application architecture และ Data architecture
3)        ชั้นที่ 3 เป็นการออกแบบส่วนที่เกี่ยวกับ Technology domain หรือระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีเพื่อรองรับการทำงานของระบบ Information system ที่ปรากฏในชั้นที่ 2 นั่นก็คือ Technology architecture นั่นเอง

ในแต่ละชั้นยังถูกแบ่งออกเป็นชั้นละ 3 ส่วนเพื่อกำหนดรายการในรายละเอียดของแต่ละ Domain ประกอบด้วย

1)        ส่วนที่ 1 เรียกตามภาษาของ ArchiMate ว่าเป็น Active Element หรือ Structure aspect หรือ Active structure ตามชื่อที่ปรากฏในรูปที่ 4  หมายถึงสิ่งที่มีหน้าที่กระทำต่อสิ่งอื่น แตกต่างกันขึ้นอยู่ที่แต่ละ Domain เช่น
a.         ภายใน Business layer (Domain) อาจหมายถึงเจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่ทำงานตามหน้าที่ เช่น พนักงานบัญชี  หรือหน่วยงานขององค์กร เช่นฝ่ายบริหารบุคคล
b.         ภายใน Application layer (Domain)  อาจหมายถึงระบบซอฟต์แวร์ หรือส่วน Software component ที่เรียกใช้บริการต่าง ๆ ของระบบงาน
c.         ภายใน Technology layer (Domain) ส่วนนี้จะหมายถึงอุปกรณ์เช่นเครื่อง PC หรืออุปกรณ์พกพาที่ทำงานโดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานส่วนอื่น ๆ เช่นระบบฐานข้อมูล เครื่องประมวลผล ฯลฯ
2)        ส่วนที่ 2 เป็นส่วนเกี่ยวกับการกระทำ (Action) ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรม (Behavior) ของระบบงานก็ว่าได้ ปรากฏอยู่ในรูปที่ 4 ด้วยคำ “Behavior aspect”  ความหมายของ Behavior aspect แตกต่างกันขึ้นอยู่ที่ Domain ดังนี้
a.         ภายใน Business layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็นบริการหรือการทำงานใด ๆ ทางธุรกิจ เช่นบริการตรวจสอบราคา การทำข้อเสนอ หรือเป็นกระบวนการ (Business processes) หรือเป็นฟังชั่น (Functions)  ฯลฯ
b.         ภายใน Application layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็น Software service (ตามความหมายของ Service Oriented Architecture หรือ SOA) หรือเป็น Business processes และ Functions ที่เป็นลักษณะของระบบซอฟต์แวร์
c.         ภายใน Technology layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลและสื่อสารข้อมูล เช่นเครื่อง Servers และ Network ฯลฯ
3)        ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่เป็นทรัพยากรข้อมูลที่ถูกนำไปใช้และเพื่อการประมวลผล (Passive elements หรือ Passive structure) ปรากฏในรูปที่ 4 ด้วยชื่อ “Information aspects” และมีความหมายแตกต่างกันขึ้นอยู่ที่ Domain ดังนี้
a.         ภายใน Business layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็นชื่อข้อมูล หรือชื่อเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบแจ้งหนี้ ชื่อลูกค้า ชื่อสินค้า ฯลฯ
b.         ภายใน Application layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็นชื่อตารางข้อมูล หรือ Entity diagram ของข้อมูล ฯลฯ
c.         ภายใน Technology layer (Domain) ส่วนนี้จะแสดงเป็นชื่อระบบฐานข้อมูล ฯลฯ

การแบ่งพื้นที่บนแผ่นพิมพ์เขียวเป็น 6 ส่วน ทำให้มีโครงสร้างที่เข้าใจง่ายและใช้ง่ายเพราะ

1.         สถาปนิกเลือกออกแบบได้เฉพาะ Domain เช่น สถาปัตยกรรมด้านธุรกิจ (Business architecture) สถาปัตยกรรมด้านระบบซอฟต์แวร์หรือ Application architecture และ Data architecture หรือสถาปัตยกรรมด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีที Technology architecture ในแต่ละด้านหรือ Domain นี้ สถาปนิกจะบรรยายโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้วยภาพในลักษณะเป็นประโยคของภาษาเขียน กล่าวคือเป็นโครงสร้างประกอบด้วย ประธานของประโยค (Subject) คำกริยา (Verb) และ กรรมของกริยา (Object) ตัวอย่างเช่น พนักงานขาย (Subject) ขาย (Verb) สินค้า (Object)  ประโยคนี้เราสามารถนำเสนอในบริบทของสถาปัตยกรรมธุรกิจด้วยภาษาภาพของ ArchiMate  โดยมีภาพพนักงานขายปรากฏอยู่ในช่อง  (Active) Structure aspect  ภาพแสดงการขายปรากฏในช่อง Behavior aspect และภาพที่สื่อสารว่าเป็นสินค้าปรากฏอยู่ในช่อง Information aspect หรือ Passive structure ดังนี้



2.         แสดงความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างภาพและระหว่างชั้น (Domain) ได้ ภาษาภาพที่มีลักษณะเป็น Modeling language ต้องสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาพเพื่อสื่อสารความหมายของส่วนต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมได้ ArchiMate สื่อสารได้ 2 แบบ คือสื่อสารระหว่างภาพภายใน Domain เดียวกัน และสื่อสารระหว่าง Domain ดังนี้

เส้นที่โยงระหว่างภาพ สินค้าและขายแสดงความสัมพันธ์กัน เรียกว่า Association relation ส่วนเส้นโยงระหว่าง “Selling application” กับ “Selling service” เรียกว่า Realization relation สื่อให้รู้ว่า “Selling service” ใช้ซอฟต์แวร์ชุด “Selling application” เป็นตัวทำงาน ทั้งสองเป็นตัวอย่างของ Relation ที่มีมากกว่าสิบชนิดที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ในกลุ่มภาพภายใน Domain เดียวกัน  สำหรับเส้นที่โยงระหว่าง “Selling service” กับ ขายเป็นการโยงข้าม Domain (ระหว่าง Application layer กับ Business layer) มีความหมายเป็น “Use relation” สื่อให้รู้ว่าการบริการขายสินค้านั้นอาศัย Software service ที่ชื่อว่า “Selling service” ที่อาศัยซอฟต์แวร์ชุด “Selling application” เป็นตัวทำงาน
ด้วยวิธีนี้ สถาปนิกสามารถแสดงรายละเอียดทั้งส่วนกว้าง (รายละเอียดภายใน Domain เดียวกัน) และส่วนลึก (รายละเอียดข้าม Domain) ได้อย่างเต็มที่ตามความเหมาะสมของการนำเสนอ เพื่อตอบโจทย์ของ Stakeholder ได้ตามวัตถุประสงค์


ในตอนต่อไปจะกล่าวถึง Viewpoint ในบริบทของ ArchiMate พร้อมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ArchiMate กับ TOGAF แล้วตามด้วยแนะนำการใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ใช้ออกแบบด้วยภาษา ArchiMate




No comments:

Post a Comment