รัฐบาลสหรัฐยุคบารัค โอบามา ประกาศตัวเองว่าจะเป็นรัฐบาลแบบ Transparency and Open Government แปลเป็นไทย คงหมายถึงรัฐบาลที่โปร่งใส และเปิดเผย หรือการเปิดกว้างในภาครัฐ และยังให้คำมั่นว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชน ทำให้เกิดความโปร่งใสในการบริหาร เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และตั้งความหวังว่า การเปิดกว้างในภาครัฐ (Openness in Government) จะสามารถสร้างความเข็มแข้งในระบบประชาธิปไตย อีกทั้งทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในส่วนของรัฐบาล หลายประเทศกำลังจำตามองดูว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลของนายโอบามา กำลังจะสร้างต้นแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) แบบใหม่ Transparency and Open Government มีสามมิติหลัก ๆ คือ Transparency, Participative และ Collaborative
- รัฐบาลจะต้องมีความโปร่งใส ความโปร่งใส ทำให้เกิดจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่ทำไป หรือสามารถอธิบายในสิ่งที่ทำไปได้ และกล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะในทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐบาลได้ทำไป ข้อมูลข่าวสารที่เก็บรวบรวมในภาครัฐนั้น เป็นสมบัติของชาติ รัฐบาลจะต้องทำทุกวิถึทางที่จะเปิดเผยให้แก่ประชาชน เท่าที่กฎหมายจะเอื้อให้ หน่วยงานทุกส่วนของรัฐบาลจะต้องสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงาน และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสารที่จะเป็นสาธารณะประโยชน์ แล้วหาวิธีตอบสนองเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเหล่านั้นได้อย่างเต็มความสามารถ
- รัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ทำให้รัฐบาลมีข้อมูลที่จะช่วยการตัดสินใจแม่นยำขึ้น องค์ความรู้หลากหลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไปในสังคม หน่วยงานของงรัฐบาลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฏหมาย กฏกระทรวง และกฏระเบียบอื่น ๆ ที่มีผลต่อประชาชนโดยตรง รัฐบาลต้องหามาตรการชักชวนให้ประชาชนออกความคิดเห็นเกี่ยวกับความมีส่วนร่วมเพื่อบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
- รัฐบาลต้องร่วมมือทำงานกับทุกภาคส่วน ทั้งภายในหน่วยงานของภาครัฐเอง และร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่นองค์กรอิสระ และธุรกิจ รัฐบาลต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับภาคประชาชนอย่างจริงจัง และฟังเสียงสท้อนจากประชาชนเกี่ยวกับการร่วมมือทำงานอย่างมีประสิทธิผล
ที่นำเรื่องนี้มีเล่าให้ฟัง เพราะว่า Principles of the Open Government ตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ Innovation in Services หรือนวัตกรรมในเชิงบริการ โดยถือประชาชนเป็น Co-creators of services เพื่อพาไปสู่บริการใหม่ ๆ ที่ภาคประชาชนหวังได้จากภาครัฐ หลักสำคัญของนวัตกรรมการบริการ คือความพยายามเชื่อมต่อคนกลุ่มใหญ่จากภายนอก เพื่อนำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์ของกลุ่มคนเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ อย่างลืมคำกล่าวที่ว่า “ความรู้นอกองค์กรย่อมจะมากกว่าในองค์กร” ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ความรู้และประสบการณ์ของคนงานขององค์กรมีโอกาส “Obsolete” หรือล้าสมัยได้ เหมือนสินค้าคงคลัง จึงนิยมเรียกกันว่า “Knowledge Stock” คนงานที่เราจ้างจำนวนมาก ๆ ในบริษัท เปรียบเหมือนกับสินค้าที่มีโอกาสล้าสมัย ถ้าต้องการให้มีความรู้ทันสมัย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีสองทางเลือก ทางหนึ่งคือลงทุนจ้างคนใหม่และ Retrain คนเก่า ซึ่งต้องลงทุนมาก กับอีกทางหนึ่ง คือเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเสียใหม่ คือฝึกวิธีทำงานกับคนภายนอก นักวิชาการเรียกว่า ให้เปลี่ยนวัฒนธรรมจาก Knowledge Stock เป็น Knowledge Flow เพื่อองค์กรจะได้มีคนที่มีความรู้มีร่วมพัฒนาไอเดีย สินค้า และบริการใหม่ ๆ และนี่คือแนวคิดใหม่ของ e-Government ที่รองรับด้วยเทคโนโลยี Social Media แนวคิดนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของบริการประชาชนในเรื่องข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐทำงานอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency) เพื่อบรรลุผล รัฐบาลจะใช้ Social media เป็นเวทีให้ประชาชนมีส่วนร่วม (Co-creation) ในการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริการที่ดีและมีประโยชน์อย่างจริงจัง (Participative) และสุดท้าย หามาตรการที่จะทำงานร่วมกัน ระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักของพันธกิจ คือให้ประชาชนทุกกลุ่มได้ประโยชน์ตามที่รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบาย (Value proposition)
แนวคิดของ e-Government ยุคใหม่ หรือบางกลุ่มเรียกว่า e-Government 2.0 ไม่แตกต่างกับแนวคิดของภาคธุรกิจที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มารองรับระบบบริการที่มีคุณสมบัติสำคัญสามประการ ภายใต้กรอบแนวคิดของ Service Scince ได้แก่ Digitize services โดยอาศัย Recoures จากเครือข่าย (Network) เพื่อสามารถขยายผลในวงกว้าง (Scaling) เพื่อให้ประโยชน์ (Value) ไปสู่สังคมได้อย่างทั่วถึง และยั่งยืน
No comments:
Post a Comment