Saturday, February 25, 2012

กรณีศึกษาเรื่องสร้างบัณฑิตสาขาธุรกิจท่องเที่ยวสู่อาเซียน ตอนที่ 3


แนวความคิดการพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทของวิทยาการบริการ ตามที่ได้กล่าวมานั้น เป็นเรื่องความพยายามให้นักศึกษามีส่วนร่วม (Engaging students) ส่งเสริมให้เรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และให้ผู้สอนใช้หลักการ Density Principle สร้างนวัตกรรมด้านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลุดพ้นจากเงื่อนไขของสถาน (Space) ที่และเวลา (Time) เพื่อให้นักศึกษานำไปเรียนรู้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยสรุป การพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทของวิทยาการบริการ ให้ความสำคัญในสิ่งต่อไปนี้

1.         นักศึกษาต้องสร้างคุณค่าด้านการศึกษาให้ตัวเอง (co-creation of value) อาจารย์เป็นเพียงผู้เสนอแนะและจัดทำข้อเสนอ (Offering) ในการสร้างค่าการศึกษา (value in education)
2.         การศึกษาเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนจึงเป็นกระบวนการของ Co-production ที่ทำร่วมกันในกลุ่มนักศึกษา คณาจารย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.         ผลของการศึกษาเกิดจากสมรรถนะของนักศึกษา ในด้านการเรียนร่วมกับผู้อื่น และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
4.         เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อาจารย์สร้างข้อเสนอ (Offerings) ด้านการเรียน (กระบวนการเรียน) ที่มากคุณค่า ถ้าอาจารย์สร้างกระบวนการเรียนที่หลุดพ้นจากเงื่อนไขด้านสถานที่ (Space) และเวลา (Time) ได้
5.         การเรียนเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้สอนจึงทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความรู้ และบูรณาการ (Integrator)ให้ผู้เรียนนำไปสร้างคุณค่า นอกจากนี้ ผู้สอนยังเป็นผู้ขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Prime mover) ภายในเครือข่ายอย่างมีการบริหารจัดการและติดตามผลได้ 

จากแนวความคิดการพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทข้อวิทยาการบริการ (New learning logic in the context of Service Science) ทำให้เราสามารถกำหนด Propositions หรือข้อสังเกต หรือข้อเสนอว่า การเรียนจะได้ผลลัพธ์สูงสุด จะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.         ผลการเรียนขึ้นอยู่กับความสามารถของอาจารย์ที่จะ Liquefy ความรู้ และ Unbundle กระบวนการรียน เพื่อนำไป Reconfigure กระบวนการเรียนรูปแบบที่เหมาะกับหัวข้อเรียน (Offerings)
2.         ความสามารถในการดูดซับความรู้ขึ้นอยู่ที่สมรรถนะของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.         ผลสัมฤทธิ์ขึ้นอยู่ที่ความสามารถของอาจารย์ที่จะทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยยึดหลักการช่วยตัวเอง
4.         อาจารย์ที่เข้าใจพฤติกรรมการเรียน และภูมิหลังของนักศึกษา จะสามารถออกแบบกระบวนการเรียนที่ดีให้นักศึกษาได้
5.         การเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม และเป็นเครือข่ายจะได้ผลดี อาจารย์ต้องเข้ามีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย
6.          นักศึกษาจะเป็น Co-creator of value ที่ดี และได้ผลสัมฤทธิ์ อาจารย์ต้องทำหน้าที่เป็น prime mover ขับเคลื่อนกระบวนการสร้างคุณค่า ด้วยวิธีบริหารจัดการ และติดตามการสร้างคุณค่าอย่างใกล้ชิด

การออกแบบกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคนิค Blueprint
ผู้สอนจะออกแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแผนการสอน โดยยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง หมายถึงให้ออกแบบการเรียนแต่ละตอน โดยพิจารณาจากสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำ เช่น เข้าเรียนในชั้นเรียน หรือทบทวนบทเรียนจากวิดีทัศน์ แล้วกำหนดกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนโดยตรงจากอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมเรียน หรือการสนับสนุนด้วยระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การออกแบบอาจอาศัยเทคนิคของ Flowcharting ที่จะช่วยให้เห็นภาพรวมของกระบวนการเรียนได้ชัดเจน แต่ในโครงการนี้ แนะนำให้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Service Blueprint ที่มาจากข้อแนะนำของ Lynn Shostack (1984) และต่อมา Bitner และคณะ (Bitner et al., 2007) ได้นำมาเผยแพร่เพื่อการออกแบบระบบบริการอย่างกว้างขวาง
ภาพ Flowchart แบบ Blueprint แบ่งการนำเสนอเป็น 5 ส่วนดังนี้
1)        ส่วนที่แสดงสิ่งสนับสนุนทางกายภาพ (Physical Evidence) หมายถึงสถานที่ หรือวัตถุใด ๆ ที่เป็นลักษณะทางกายภาพที่ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการการเรียน เช่นห้องเรียน ห้องปฎิบัติและทดลอง ฯลฯ
2)        ส่วนที่แสดงเป็นจุดสัมผัส (Touch point) หรือสิ่งที่เกี่ยวกับการกระทำที่ผู้เรียนต้องทำภายใต้กระบวนการเรียน (Student action) เช่น เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน การทำการบ้าน การทบทวนบทเรียน ฯลฯ
3)        ส่วนที่แสดงการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน หรือผู้ให้บริการ กับผู้เรียน เป็นการปฎิสัมพันธ์ที่มองเห็นและจับต้องได้ เช่น อาจารย์ให้คำแนะนำ อาจารย์ไปบรรยายในชั้นเรียน
4)        ส่วนที่แสดงการสนับสนุนผู้เรียนที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ เช่นการบริการด้วยระบบซอฟต์แวร์ หรือด้วยผู้ให้บริการที่อยู่ Backstageไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับผู้เรียน เช่นผู้ช่วยสอนที่ให้คำแนะนำผ่าน eMail หรือ Online chat (Invisible contact)
5)        ส่วนที่แสดงการสนับสนุนที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์และระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นระบบ MBL Servaer ระบบ Sakai ระบบ eMail ฯฯ
               Blueprint ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นการออกแบบการเรียน ประกอบด้วย Touch point หรือ Student action เช่น การเข้าฟังบรรยาย การทำการแบบ การทบทวนบทเรียน การปรึกษาหารือกัน การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร และการประเมิผล

โครงสร้างของระบบบริการการเรียนการสอน (Learning Platform)
ระบบบริการการเรียนการสอนถูกออกแบบให้เป็นเวที เพื่อผู้สอนได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของผู้สอนที่มีคุณภาพ กล่าวคือ 1) สอนได้ชัดเจนขึ้น 2) มีวิธีสอนที่หลากหลาย ผสมด้วยการสอนในชั้นเรียน กับเครื่องมืออีเลิร์นนิ่ง 3) เพิ่มความเอาใจใส่ในการสอน ด้วยการปฎิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4) มีมาตรการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และ 5) จัดรูปแบบเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนดูดซับความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
1)        ให้ผู้สอนสอนได้ชัดเจน โดยเลือกใช้เครื่องมือช่วยสอนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นวีดิทัศน์ Podcasting, E-Learning ตามมาตรฐาน SCORM และอื่น ๆ ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ ผู้สอนจะออกแบบเนื้อหา และวิธีถ่ายทอดความรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเข้าใจง่าย ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำ และฟังซ้ำได้ จนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
2)        มีวิธีสอนที่หลากหลาย ผู้สอนจะเลือกใช้เครื่องมือช่วยสอนที่มีหลากหลายชนิดตามความเหมาะสม โดยเน้นผลการเรียนเป็นหลัก เครื่องมือช่วยสอนนอกจากที่กล่าวในข้อที่ 1) ยังมีเครื่องมือในกลุ่ม Web 2.0 ที่จะช่วยให้ผู้เรียนใช้ปรึกษาหารือกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เพื่อทำ Webinar และใช้เป็น Cyber classroom
3)        เพิ่มความเอาใจใส่ในการสอน ด้วยการใช้เครื่องมือสื่อสนทนาสองทาง ได้แก่กลุ่มเครื่องมือ Web 2.0 ที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งเครือข่ายสังคม เช่น Twitter, Facebook, etc.  ทำให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียน และสามารถเข้าถึงปัญหา และช่วยแก้ไขปัญหาได้ เมื่อต้องการ
4)        มีมาตรการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมหมายถึงการเรียนด้วยตัวเอง และทำกิจกรรมที่รับมอบหมายด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เช่น Wiki, Blogs, Web conference ฯลฯ
5)        จัดรูปแบบเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม  ผู้สอนจะแบ่งบทเรียนเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้เรียนและทำงาน โดยระบบบริการจะสามารถ Monitor และเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผล และจัดการการเรียนและการสอนได้
ด้วยข้อกำหนดและคุณลักษณะที่กล่าวข้างต้น ระบบบริการจึงถูกออกแบบให้มีโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ๆ สี่ส่วนดังนี้
1)        ส่วนที่ให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าถึงระบบเพื่อการสอนและการเรียน ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็บพีซี ฯลฯ
2)        ส่วนที่เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนการสอน เนื่องจากระบบถูกออกแบบให้ผสมผสานระหว่างการเรียนในชั้นเรียน (Manual process) และเรียนด้วยกระบวนการคอมพิวเตอร์ (Computerized process) การสอนในชั้นเรียนจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือเพื่อการเรียนด้วย ระบบบริการ ถูกออกแบบให้ใช้ระบบ Collaborative Learning Environment (CLE) หรือระบบ Learning Management System (LMS) สำหรับบริหารจัดการ Learning contents และนำเสนอเนื้อหาเพื่อการเรียน นอกจากนี้ ยังมีระบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดการและนำเสนอเนื้อหาประเภทวีดิทัศน์ และระบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดการงานด้าน Web conference และ Cyber classroom
3)        ส่วนของระบบสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านระบบอีเมล์ SMS และสื่อสังคมที่เป็นเครือข่ายสังคมสาธารณะ เช่น Twitter, Facebook, etc.
ภาพที่แสดงส่วนประกอบทางกายภาพของระบบบริการการเรียนการสอน ดูได้จาก Link นี้

No comments:

Post a Comment