ในบทความตอน
1 ของเรื่อง “วิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมในยุคดิจิทัล” ได้กล่าวถึงหลักคิดของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนสามเรื่อง
คือเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Business Processes) ปรับเปลี่ยนเรื่องที่เกี่ยวกับตัวสินค้า
และปรับเปลี่ยนในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่า (Value) ซึ่งเกี่ยวโยงกับการสร้างประสบการที่ดีให้ลูกค้า
(Customer Experiences) จากแนวคิดของการปรับเปลี่ยนธุรกิจดังกล่าว
นำไปสู่การเสนอแนะการใช้กรอบการปฏิรูป หรือ Transformation Framework ดังต่อไปนี้
3.
การใช้
Transformation Framework เพื่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจเอสเอ็มอี
ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กต่างมีจุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปธุรกิจเหมือนกัน
คือให้ทันยุคสมัยที่จะตอบโจทย์ความต้องการ
(Needs) ของผู้บริโภค และความต้องการที่ยังไม่ปรากฏ (Latent
needs) ซึ่งพร้อมจะบริโภคถ้ามีสิ่งจูงใจแรงพอ
แนวคิดหลักของธุรกิจจึงหันมุ่งความสำคัญไปที่ผลิตภัณฑ์ที่มี Extrinsic
Value (คุณค่าจากภายนอกตัวสินค้า) มากกว่าเพียง
Intrinsic value (คุณค่าจริง หรือคุณค่าจากภายในตัวสินค้า)
เราใช้สองคำนี้ในบริบทที่ไม่เกี่ยวกับปรัชญา แต่เกี่ยวกับสินค้าและบริการในเชิงการตลาดยุคใหม่
และเราใช้อย่างหลวม ๆ เพียงเพื่อสื่อว่าผู้บริโภคทุกวันนี้ให้ความสำคัญกับคุณค่าจริงที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการ
(Value in-use) มากกว่าคุณค่าในตัวสินค้าและบริการเอง
(Value in-exchange) เช่นคุณค่าในตัวของรถยนต์คือวิ่งได้
บรรทุกของได้ เรียกว่าคุณค่าที่เกิดจากลักษณะภายในของสินค้าที่ถูกออกแบบและถูกสร้างขึ้น
(Intrinsic value) แต่ผู้บริโภคทุกวันนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการเดินทางได้อย่างปลอดภัย
สะดวก และประหยัด ซึ่งเป็นคุณค่าจากภายนอกที่นอกเหนือจากตัวสินค้า (Extrinsic
value) คือสนใจ Solutions มากกว่าตัวสินค้านั่นเอง
เราจะพูดถึงเรื่องนี้ในรายละเอียดในหัวข้อเรื่อง “Principles of Value
Creation” ในโอกาสต่อไป
ถึงแม้เป้าหมายของการปฏิรูปธุรกิจจะเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหญ่หรือเล็ก
แต่ความพร้อม ความเร่งด่วน ความสนใจของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
และความตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยน อีกทั้งวิธีการเลือกเพื่อปรับเปลี่ยนนั้นแตกต่างกัน
กรอบการปฏิรูปธุรกิจ (Business
Transformation Framework) ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแนะแนวเพื่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจตามบริบทของแต่ละองค์กรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
3.1
การบูรณาการระบบห่วงโซ่คุณค่าในแนวตั้ง
ธุรกิจที่ยังไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์และไอซีทีมากนัก หรือไม่ได้ใช้จริงจังมักจะเริ่มปฏิรูปจากจุดนี้
คือปรับเปลี่ยนงานภายในองค์กรด้วยเทคโนโลยีไอซีทีและดิจิทัลเพื่อมุ่งเน้นการ Optimize internal processes and resources บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์เดิมที่เป็น
Product-centric ตามที่แสดงในรูปที่ 3 ข้างล่างนี้ มีแกน X ครอบคลุมเนื้องานส่วนที่เป็น Internal processes แกน
Y ครอบคลุมธุรกิจส่วนที่เป็น Product ส่วนแกน
Z นั้นแบ่งเป็นสองส่วน ส่วน “A” หมายถึงใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานภายใน
และ “B” หมายถึงใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการกันเต็มรูปแบบ
รูปที่ 3 การปรับเปลี่ยนธุรกิจในระดับ Vertical
Integration ในห่วงโซ่คุณค่า
1)
Digitize business
processes ขั้นพื้นฐาน (Cube A ในรูปที่ 3)
ในขั้นนี้ ธุรกิจสนใจเพียงแค่ปรับปรุงกระบวนการงานหลัก ๆ
ภายในห่วงโซ่คุณค่าด้วยระบบสารสนเทศเพื่อเตรียมความพร้อมทำธุรกิจออนไลน์เต็มรูปแบบต่อไป
การปรับกระบวนการทำงานหลักให้เป็นระบบอัตโนมัติด้วยไอซีที เริ่มต้นจากกำหนด Core Business Capability ที่รองรับธุรกิจปัจจุบัน
เช่น การบัญชีและการเงิน การจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
ระบบบัญชีต้นทุนที่ทันสมัย การวางแผนการผลิต การจัดซื้อวัสดุที่มีประสิทธิภาพ การบริหารวัสดุคงคลัง
และการบริหารแรงงานเป็นต้น Core
Business Capabilities จะเป็นตัวกำหนด Digital Capabilities ที่สนับสนุนการทำงานของกลุ่ม Business Capabilities ในระยะแรก
ระบบสารสนเทศจะทำงานแบบต่างคนต่างทำ คือไม่บูรณาการกัน
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลจึงไม่ได้เต็มที่ตามที่ควร การประมวลผลได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้นจึงเป็นเป้าหมายหลัก
แต่คุณค่าที่สำคัญเป็นการเตรียมความพร้อมให้ทั้งองค์กรเข้าสู่เวทีการแข่งขันรูปแบบใหม่ในยุคธุรกิจดิจิทัล
(Digital Business) ซึ่งเป็นงานปฏิรูปขั้นตอนไป
2)
Integrate business
processes (Cube B ในรูปที่ 3)
เมื่อธุรกิจได้สร้างสมรรถนะด้าน Automate core business capabilities แล้วระดับหนึ่ง
ก็จะเข้าสู่การ Digitize business processes ที่เน้นการบูรณาการภายในให้ครบถ้วนที่สุด
(Internal process integration) หรือที่นิยมเรียกว่า Vertical
Integration ในขั้นนี้ ธุรกิจจะกำหนด Core Business
Capabilities เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานบูรณาการเป็นการภายใน
เช่น สร้างสมรรถนะในการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มงานต่าง ๆ สมรรถนะในการใช้ข้อมูลกลุ่มธุรกิจเพื่อการจัดการ
การเชื่อมโยงระบบการผลิตเข้ากับระบบอื่น ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า การจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
และสมรรถนะในการจัดการธุรกิจแบบบูรณาการ ฯลฯ Business Capabilities เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจาก
Digital Capabilities นำไปสู่การติดตั้งระบบจัดการทรัพยากรองค์กร
(Enterprise Resource Planning, ERP) นอกจากนี้ ยังมี Digital Capabilities ในด้านใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมและเฝ้าติดตามการทำงาน เช่นดูแลเรื่องต้นทุน
และติดตามผลจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสร้างสมรรถนะใช้ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ
ดังที่แสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 4 การบูรณาการระบบการผลิตกับระบบสารสนเทศภายในองค์กร
(ที่มา: ปรับปรุงจากภาพของสภาอุตสาหกรรม)
2.
ใช้ดิจิทัลบูรณาการระบบห่วงโซ่คุณค่าในแนวราบ
กรอบการปฎิรูปธุรกิจส่วนที่สองนี้เน้นการปรับเปลี่ยนกระบวนการ (Business Processes) ที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปสงค์
(Demand chain) เป็นเรื่องว่าด้วยการตลาด การจัดจำหน่าย
และการบริการลูกค้าด้วยระบบไอซีที และการเชื่อมโยงกับพันธมิตรเพื่อร่วมมือกันในการทำธุรกิจ
เช่นร่วมกันออกแบบสินค้าและบริการ การทำ Outsourcing และ Insourcing
ในกิจกรรมบางอย่างที่ต่างคนต่างมีความถนัดกว่ากันเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
แต่ทั้งนี้ยังทำอยู่บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์เดิมที่เน้น Product-centric เป็นหลัก ตามที่แสดงในรูปที่ 5
มีแกน X ครอบคลุมเนื้องานส่วนที่เป็น
External processes แกน Y ครอบคลุมธุรกิจส่วนที่เป็น
Product ส่วนแกน Z นั้นแบ่งมีสองส่วน
ส่วน “A” หมายถึงใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการลูกค้า
และ “B” หมายถึงใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อทำงานแบบบูรณาการภายในห่วงโซ่คุณค่าเต็มรูปแบบ
รูปที่ 5 การปรับเปลี่ยนธุรกิจในระดับ Horizontal
Integration ในห่วงโซ่คุณค่า
1)
Computerize external
processes (Cube A ในรูปที่ 5)
ในขั้นนี้
ธุรกิจให้ความสำคัญกับกระบวนการในส่วนของห่วงโซ่อุปสงค์ (Demand chain) ตามที่กล่าวข้างต้น สร้างกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงกับลูกค้าด้วยระบบสารสนเทศเพื่อบริการเรื่อง
Order Fulfillment ตั้งแต่การสอบถามราคา
จนถึงการจัดส่งสินค้าได้รับความสะดวกและรวดเร็วที่สุด ในส่วนของห่วงโซ่อุปทาน (Supply
chain) นั้น ธุรกิจใช้ระบบออนไลน์เชื่อมโยงกับกระบวนการทำงานของผู้จำหน่ายวัสดุเพื่อให้การไหลเวียนวัสดุสู่สายการผลิตมีประสิทธิภาพและลดความสูญเสีย
ในขั้นนี้ ธุรกิจจะกำหนดส่วนที่เป็น Core Business Capabilities เพิ่มเติม เช่น การเรียนรู้ความต้องการและปัญหาของลูกค้า (Customer’s
Journey) การกำหนดจุดสัมผัสกับลูกค้าที่ต้องการบริการเป็นกรณีพิเศษ
การทำธุรกิจด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
Digital
Capabilities ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานนี้ ประกอบด้วย
การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) การจัดจำหน่ายผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
ระบบเครือข่ายสังคมเพื่อปฏิสัมพันธ์และสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้าและพันธมิตร
2)
Integrate external
processes (Cube B ในรูปที่ 5)
ในขั้นนี้
ธุรกิจมีสมรรถนะที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อทำงานบูรณาการกับลูกค้าและพันธมิตรเต็มรูปแบบ
โดยแต่ละกระบวนการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลประกอบด้วยอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่นเช่น
Cloud computing, Big data, และ IoT การทำงานแบบบูรณาการในแนวราบอาจหมายถึงธุรกิจที่มีระบบผลิตสินค้าเชื่อมโยงกับระบบจัดวางแผน
ระบบจัดซื้อวัสดุ และระบบโลจิสติกส์แบบเรียลไทม์
กระบวนการผลิตอาจเชื่อมโยงกับกับการตลาดและการขายเพื่อผลิตสินค้าตามสั่งของลูกค้าจากมุมใดของโลกก็ได้
สินค้าอาจจะถูกออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์จากที่ใดในโลกก็ได้ ความเป็นอัตโนมัติไม่ได้จำกัดอยู่ที่กระบวนการผลิต
แต่รวมทั้งกระบวนการโลจิสติกส์ กระบวนการขาย และกระบวนการบริการหลังการขายโดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลเช่น
Internet of Things (IoT) อย่างไรก็ตาม รูปแบบธุรกิจยังมีลักษณะเป็น Product-centric
ที่เน้นที่ผลิตและจำหน่ายสินค้า และให้ความสำคัญกับการค้าข้ามชาติโดยอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัล
Business Capabilities ในระดับนี้เป็นการสร้างสมรรถนะขององค์กรให้สามารถทำงานแบบ
Decentralization เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริการลูกค้าที่รวดเร็ว
สามารถบังคับใช้ข้อมูลและรายการค้าที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อการเชื่อมโยงกับคู่ค้านาๆชาติได้
Digital Capability ที่จะสนับสนุนการทำงานเชื่อมโยงแบบออนไลน์ต้องเป็นระบบสารสนเทศที่ทำงานกับรายการค้ามาตรฐานและข้อมูลมาตรฐานระดับสากล
เช่น มาตรฐานรหัสสินค้าสากล Global
Trade Item Number (GTIN 13 หลัก) ของ GS1 และมาตรฐานรหัสแยกกลุ่มสินค้า UNSPSC ของสหประชาชาติ
(UN Development Programme (UNDP))
ส่วนเรื่อง Standard Messages นั้นอย่างน้อยต้องใช้มาตรฐานของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
เช่น ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ที่อิงกับมาตรฐาน UN/CEFACT มาตรฐานใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์นี้ครอบคลุมถึงเอกสารรายการค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่น
ๆ เช่น ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) ใบเสร็จรับเงิน (e-Receipt)
และอื่น ๆ
การใช้มาตรฐานรายการค้าอิเล็กทรอนิกส์ชุดนี้จะทำให้การค้าออนไลน์ของไทยแบบ End-to-end
ทำได้สมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องใช้มาตรฐานข้อมูลการชำระเงิน
เช่นมาตรฐาน ISO 20022 ทั้งหมดนี้เป็นมาตรฐานสำคัญที่จะสนับสนุนการทำงานในห่วงโซ่คุณค่าแบบบูรณาการในแนวราบและเตรียมพร้อมที่จะให้ธุรกิจ
SMEs ไทยเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain ได้
กรุณาอ่านต่อในตอนที่ 3 ครับ
No comments:
Post a Comment