องค์กรที่จะใช้คลาวด์ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาความสามารถอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ความยุ่งยากไม่ได้อยู่ที่ตัวเทคโนโลยี แต่อยู่ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีจัดการการใช้ไอซีที
รวมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีและโครงสร้างพื้นฐานของระบบซอฟต์แวร์
ที่สำคัญต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณจากการลงทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ประมาณการได้ยาก
Cloud Maturity
Model ถูกนำมาใช้ประเมินความพร้อมขององค์กร และยังถูกใช้เป็นกรอบเพื่อการพัฒนาความสามารถด้านคลาวด์คอมพิวติง
บทความชุดนี้จะนำเสนอแนวคิดของ Cloud Maturity Model และหลักไมล์ที่ใช้เป็นเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความสามารถด้านคลาวด์คอมพิวติงขององค์กร
สถานภาพการใช้และการให้บริการคลาวด์ของไทย
จากการศึกษาและติดตามพัฒนาการการใช้บริการและการให้บริการคลาวด์ของไทย
พบว่าส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังห่างไกลจากลักษณะการบริการตามคำนิยามของ
NIST
(National Institute of Standards and Technology) ที่ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในบทความตอนก่อน ๆ ซึ่งแนะนำให้แบ่งคุณสมบัติสำคัญ
(Essential characteristics) ของบริการคลาวด์เป็นห้าประการดังนี้
1.
ผู้ใช้สามารถบริการด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มลดทรัพยากรไอซีทีตามความต้องการได้
(On-demand
self-service)
2.
ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายความเร็วสูงได้
(Broad
network access)
3.
ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรไอซีทีร่วมกับผู้อื่นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันจากที่ต่าง
ๆได้ (Resource
pooling)
4.
ผู้ใช้ได้รับจัดสรรทรัพยากรไอซีทีมากน้อยตามความต้องการได้
(Rapid
elasticity)
5.
มีระบบวัดปริมาณและระยะเวลาการใช้บริการ
(Measured
service) เพื่อคำนวณค่าบริการที่ใช้ตามความเป็นจริงได้
จากการสำรวจของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) พบว่าผู้ให้บริการคลาวด์ของไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถให้บริการแบบ
On-demand self-service และแบบ Rapid
elasticity ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ลงทุนระบบวัดปริมาณการใช้งานแบบเรียวไทม์
(Measured service) ในขณะเดียวกัน
ผู้ใช้เองก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการทดลองใช้ และกำลังศึกษาผลของการใช้บริการคลาวด์ ในส่วนเกี่ยวกับรูปแบบบริการ (Service Model) นั้น พบว่า SaaS ส่วนใหญ่เป็นแค่นำระบบซอฟต์แวร์เดิมขึ้นคลาวด์ให้บริการในลักษณะ Single
instance ยังไม่สามารถปรับให้บริการแบบ Multi-tenants ได้ และจำนวนหนึ่งเป็นการให้บริการด้วยระบบ Web apps ผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับบริการ PaaS
นั้น ส่วนมากเป็นบริการของบริษัทข้ามชาติจากศูนย์คอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ
การใช้ PaaS เป็น Development platform ก็ยังมีไม่มาก เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ประยุกต์งานที่อิงกับแพลตฟอร์มอย่างจริงจัง ศูนย์บริการคลาวด์ของคนไทยที่ให้บริการ PaaS
พอมีบ้าง แต่เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม จึงให้บริการเพียงแค่กลุ่มแพลตฟอร์มที่เป็น
Open source software สำหรับการบริการรูปแบบ IaaS นั้นถึงแม้จะเป็นธุรกิจหลักของผู้ให้บริการคลาวด์ในขณะนี้
แต่ก็เพียงแค่ให้บริการเช่าใช้ทรัพยากรไอซีทีผ่านอินเทอร์เน็ต ยังไม่สามารถให้บริการครบคุณสมบัติสำคัญ
(Essential characteristics) ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ในด้านผู้ใช้ทั้งภาครัฐ
ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะศึกษาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ ที่เริ่มทดลองใช้แล้วนั้น
ส่วนใหญ่ก็เป็นงานขนาดเล็ก เมื่อถูกสอบถามส่วนใหญ่ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ายังไม่มั่นใจในความปลอดภัย
และยังไม่ชัดเจนในด้านประโยชน์ที่แท้จริง ความเข้าใจ Cloud Maturity Model จะสามารถช่วยองค์กรพัฒนาความสามารถด้านคลาวด์คอมพิวติงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
เพื่อปรับใช้ไอซีทีรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การใช้คลาวด์จำเป็นต้องมีการเตรียมตัว
องค์กรที่จะใช้คลาวด์ต้องมีการเตรียมตัวและปรับตัว
ไม่ใช่เพื่อรับมือกับความยากของเทคโนโลยี แต่เพื่อสร้างความพร้อมด้านการจัดการและการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่การเปลี่ยนแนวทางจัดการการลงทุนในสินทรัพย์ จนถึงการจัดการกับทรัพยากรไอซีทีและกระบวนการให้บริการไอซีทีในองค์กร
ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Private cloud ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อเทคโนโลยี Virtualization เพื่อนำ
Server, storage, และ networks มาใช้ร่วมกัน
แต่ความสำคัญอยู่ที่สามารถอำนวยการให้บริการผู้ใช้ด้วยทรัพยากรไอซีทีที่ต้องการแบบ
On-demand เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจได้ คุณค่าของ Private cloud อยู่ที่สามารถจัดการทรัพยากรไอซีทีเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
ประโยชน์ของคลาวด์ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สามารถจัดการทรัพยากรไอซีทีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความประหยัด
แต่เป็นการใช้ไอซีทีแนวใหม่ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภคและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
การเตรียมความพร้อมเพื่อการใช้คลาวด์จึงเป็นเรื่องของการพัฒนาแนวทางการจัดการรูปแบบใหม่
ไม่ใช่เป็นเรื่องการเรียนรู้เทคโนโลยีสาขาใหม่ การสร้างความพร้อมเพื่อใช้คลาวด์คอมพิวติงจึงต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน
เป็นการ migrate กระบวนวิธีใช้ไอซีทีจากวิธีเดิมไปสู่วิธีใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบทั้งโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
โครงสร้างของระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้
ตลอดจนแนวทางจัดการบริการไอซีทีให้แก่ผู้ใช้ทุกระดับในองค์กร
ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อช่วยธุรกิจทำ Migration จากการใช้ไอซีทีแบบดั่งเดิมไปสู่คลาวด์คอมพิวติง
ภายใต้ชื่อ “Cloud Maturity Model หรือวุฒิภาวการณ์ใช้คลาวด์” ถึงแม้กรอบแนวคิดจะมีหลายหลาย
แต่ก็คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเพียงในรายละเอียด
กรอบแนวคิดเหล่านี้ นอกจากจะเป็นเครื่องมือช่วยประเมินความพร้อมของการใช้คลาวด์
ยังสามารถใช้เป็นกรอบเพื่อการพัฒนาการไปสู่การใช้คลาวด์คอมพิวติงแบบเต็มรูปแบบได้
ในบทความนี้ จะนำเสนอกรอบความคิดที่เรียบเรียงจากบริษัท OnX[1] โดยกำหนดหลักไมล์หรือเป้าหมายการพัฒนาความสามารถการใช้คลาวด์เป็น
5 ขั้นภายใต้คุณลักษณะการจัดการด้านใช้ไอซีที 4 ด้าน เมื่อนำทั้งสองส่วนรวมกัน จะกลายเป็นกรอบเพื่อการประเมินวุฒิภาวะของการใช้คลาวด์
(Cloud Maturity Model) 5 ระดับดังรายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไป
หลักไมล์เพื่อการพัฒนาความสามารถการใช้คลาวด์ (Primary migration milestones)
องค์กรอาจกำหนดหลักไมล์หรือเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความสามารถการใช้คลาวด์เป็น
5 ขั้น รายละเอียดที่ปรากฏข้างล่างเป็นคุณสมบัติและความสามารถด้านไอซีที
(ICT Capability) ขององค์กรในแต่ละหลักไมล์ในบริบทของการใช้คลาวด์
1.
หลักไมล์ที่
1 ขั้นเริ่มต้น
(Initial) องค์กรที่ใช้ไอซีทีอยู่แล้วและเริ่มให้ความสนใจคลาวด์คอมพิวติงถือว่าอยู่ในขั้นที่
1 หมด ณ ระดับนี้
องค์กรยังคงให้บริการไอซีทีแก่ผู้ใช้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีแบบเดิม ภายใต้อำนวยการของหน่วยงานไอซีที
หรือแผนกไอซีทีรูปแบบเดิม องค์กรยังคงให้ความสำคัญกับความเป็นเจ้าของทรัพยากรไอซีที
เช่น Servers, data storage, network ฯลฯ
ระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานยังคงอิงกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในองค์กรทั้งหมด
2.
หลักไมล์ที่
2 ขั้นเริ่มใช้เทคโนโลยีเสมือน
(Virtualization) ในขั้นนี้ องค์กรเข้าใจประโยชน์ของเทคโนโลยีเสมือน
และเริ่มนำ Virtualization รูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะ Virtual server, virtual storage และ virtual
network การจัดการไอซีทียังคงให้ความสำคัญที่ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีมากกว่าผลลัพธ์ที่จะได้จากเทคโนโลยี การใช้ Virtualization จึงเป็นเพื่อการจัดการทรัพยากรไอซีทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
3.
หลักไมล์ที่
3 ขั้นแยกตัวเป็นอิสระ (Abstracted) ในขั้นนี้ องค์กรเริ่มปรับโครงสร้างของระบบงานให้เป็นอิสระจากระบบฮาร์ดแวร์ด้วย
Virtualization ระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาใหม่เริ่มใช้เทคนิค Loose
coupling หรือผูกติดกันอย่างหลวม ๆ เช่นแยกคำสั่งให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(What) ออกจากกลุ่มคำสั่งที่ทำงานในเชิงรายละเอียด (How)
โปรแกรมส่วน How คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริการ
ในขณะที่ What เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ (Business
processes) การใช้เทคนิค Virtualization รวมกับซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างเป็น
Service orientation เป็นจุดเริ่มต้นของความยืดหยุ่น (Flexibility)
ในระดับนี้ องค์กรเริ่มจะทดลองใช้บริการคลาวด์คอมพิวติงในงานที่ไม่สลับซับซ้อนเพื่อการเรียนรู้
4.
หลักไมล์ที่
4 ขั้นมีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในขั้นนี้ องค์กรได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้าน Business Process
Management (BPM) และซอฟต์แวร์ที่มีสถาปัตยกรรมเชิงบริการ (SOA)
มากขึ้น ทำให้ระบบงานเกิดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของตลาดได้
นำไปสู่การใช้บริการคลาวด์ส่วนตัวเพื่อบูรณาการระบบงานภายใน และเริ่มได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรไอซีทีแบบจัดสรรตามความต้องการโดยอัตโนมัติตามระยะเวลาและชนิดซอฟต์แวร์ที่ใช้
องค์กรมีความคุ้นเคยกับการจัดการคุณภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีและระบบงานด้วยมาตรการที่เป็นพันธะสัญญาด้านบริการ
(Service Level Agreement) ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ
ทั้งหมดเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้คลาวด์อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
5.
หลักไมล์ที่
5 ขั้นเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimized) ในขั้นนี้ผู้บริหารทุกระดับเริ่มเข้าใจประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติงและต้องการเพิ่มคุณค่าให้แก่ธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่
ๆ ในเชิงการตลาดและการสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค
เป็นการใช้บริการคลาวด์เพื่อบูรณาการกับกระบวนการสร้างคุณค่าแบบจากต้นจนจบ (End-to-end
processes) ร่วมกับพันธมิตรและลูกค้า คุณสมบัติของระบบงานไอซีทีที่สำคัญคือ
กลุ่มชิ้นส่วนซอฟต์แวร์มีลักษณะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานเชิงบริการ
ใช้มาตรฐานเพื่อทำงานร่วมกัน (Interoperability) ระหว่างคลาวด์หลายระบบได้
และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับไอซีทีนั้นมากน้อยเป็นไปตามปริมาณที่ใช้จริง
มีการคำนวณค่าใช้จ่ายแบบบริการสาธารณูปโภค
หลักไมล์เพื่อการพัฒนาความสามารถการใช้คลาวด์ทั้ง
5 ขั้นที่กล่าวถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินผล
และพัฒนาความสามารถการใช้คลาวด์ในบริบทของการจัดการไอซีที 4 ด้านประกอบด้วย
1) ด้านเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
2) ด้านเกี่ยวกับระบบงานประยุกต์หรือแอพพลิเคชั่น 3) ด้านเกี่ยวกับกระบวนการทำงานด้านไอซีที และ 4) ด้านเกี่ยวกับการเงิน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.
ด้านเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
องค์กรที่จะเตรียมพร้อมสู่การใช้คลาวด์นั้น ต้องเริ่มปรับกลยุทธ์เกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
กล่าวคือระบบฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล
และอุปกรณ์เครือข่าย ต้องค่อย ๆ ปรับเข้าสู่การรวมตัวเป็นกองกลาง เพื่อจัดสรรให้แก่ระบบงานต่าง
ๆ ตามความต้องการแบบอัตโนมัติได้โดยอาศัยเทคโนโลยีแบบเสมือน หรือ Virtualization ระบบงานใด ๆ ต้องไม่ถูกกำหนดให้ทำงานผูกติดกับระบบฮาร์ดแวร์ส่วนใดโดยเฉพาะ
ต้องสามารถจัดสรรทรัพยากรไอซีทีอย่างอิสระ การทำงานอย่างอิสระของระบบงาน
โดยไม่ผูกติดกับอุปกรณ์ใด ๆ (Abstraction) ถือเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการสู่การใช้บริการคลาวด์
2.
ด้านเกี่ยวกับระบบงานประยุกต์หรือแอพพลิเคชั่น
เช่นเดียวกันกับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที การเตรียมพร้อมสู่การใช้คลาวด์นั้น
องค์กรต้องเริ่มปรับปรุงให้ระบบซอฟต์แวร์ทั้งหลายมีลักษณะทำงานเชิงบริการ (Service orientation) และต้องทำงานเป็นอิสระ
คือไม่ผูกติดกับอุปกรณ์ใด ๆ (Abstraction) ถึงแม้ในบางกรณี โดยเงื่อนไขหรือกฎระเบียบขององค์กรเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย
ที่เป็นเหตุให้ต้องจัดระบบไอซีทีทำงานภายในกรอบจำกัดเฉพาะก็ตาม มาตรการที่ให้ระบบทำงานโดยอิสระ
คือไม่ยึดติดกันกับส่วนต่าง ๆ ของระบบงานฮาร์ดแวร์ก็ยังอาจมีความจำเป็น มิฉะนั้นการปรับใช้บริการคลาวด์อาจมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น
3.
ด้านเกี่ยวกับกระบวนการทำงานด้านไอซีที
การเตรียมตัวเพื่อใช้คลาวด์นั้น
ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในด้านจัดการไอซีทีเป็นอย่างมาก กระบวนการทำงานด้านไอซีทีรูปแบบเดิมมักจะเน้นความมั่นคงปลอดภัย
โดยเฉพาะการควบคุมการเข้าถึงระบบข้อมูลและระบบงานเพื่อกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอก
นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญในการจัดการสินทรัพย์ด้านไอซีที
ตั้งแต่การบริหารงบประมาณ การจัดการสัญญากับผู้จำหน่ายและผู้ให้บริการ
จัดการประสิทธิภาพและความสามารถของระบบไอซีที
ตลอดจัดการการใช้งานตลอดทั้งวงจรชีวิตของระบบโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีอย่างเข้มงวด แต่กระบวนการทำงานด้านไอซีทีในบริบทของคลาวด์คอมพิวติงจะเปลี่ยนจากเดิมมาก
องค์กรต้องเตรียมปรับตัวให้รับกับแนวคิดด้านจัดการกับกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ทำงานในเชิงบริการ
การจัดการคุณภาพของไอซีทีภายใต้เงื่อนไขของพันธะสัญญาบริการที่ทำกับผู้ให้บริการ
การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการจัดการอย่างมีธรรมภิบาลเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีภายใต้ระบบนิเวศไอซีทีของคลาวด์คอมพิวติง
4.
ด้านเกี่ยวกับการเงิน
อีกสิ่งหนึ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อองค์กรเริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้บริการคลาวด์
คือเรื่องการจัดการงบประมาณและการคำนวณค่าใช้จ่าย
แต่เดิมองค์กรจะคุ้นเคยกับงบลงทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ไอซีที และมีค่าบำรุงรักษาเป็นค่าใช้จ่าย
แต่รูปแบบคลาวด์นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้งานจริงทั้งหมด ซึ่งประมาณล่วงหน้าได้ยากกว่า
วุฒิภาวะการใช้คลาวด์ (Cloud Maturity Model)
วุฒิภาวะการใช้คลาวด์เป็นการประเมินความสามารถปรับเปลี่ยนสู่การใช้คลาวด์ใน
4 เรื่อง โดยยึดหลักไมล์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาข้างต้น ดังรายละเอียดดังนี้
1.
วุฒิภาวะส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
(Infrastructure)
1.1.
ระดับที่
1 ระดับเริ่มต้น
(Traditional) เป็นระดับที่องค์กรเริ่มให้ความสนใจเรื่องคลาวด์
และอยู่ในระหว่างการเรียนรู้ แต่องค์กรยังจัดการกับการใช้ทรัพยากรไอซีทีแบบเดิม
กล่าวคือยังมีการจัดสรรทรัพยากรเช่นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล
และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผูกพันกับระบบงาน การจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอซีทียังเน้นการใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
โดยไม่ได้คำนึงถึงผลทางธุรกิจมากนัก
1.2.
ระดับที่
2 ระดับที่เริ่มใช้เทคโนโลยีเสมือน
(Virtualization) ในระดับนี้องค์กรเริ่มเข้าใจคลาวด์ในระดับหนึ่ง
องค์กรเริ่มทดลองใช้เทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) เพื่อการใช้ทรัพยากรไอซีทีร่วมกัน
โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในช่วงนี้จึงปนกันระหว่างอุปกรณ์ที่ทำงานในสภาพเดิม และที่ทำงานด้วยเทคโนโลยีเสมือนภายใต้ซอฟต์แวร์อำนวยการ
เช่น Hypervisor ของ VMware เป็นต้น
1.3.
ระดับที่
3 ระดับแยกตัวเป็นอิสระ (Abstracted) ในระดับนี้ องค์กรมีความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีเสมือนมากขึ้น
งานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีเสมือน การจัดสรรทรัพยากรให้แก่ระบบงานไอซีทีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบงานส่วนใหญ่ไม่ได้ผูกติดกับอุปกรณ์ไอซีทีเหมือนอย่างเคย
1.4.
ระดับที่
4 เป็นระดับมีความยืดหยุ่น (Flexibility)
ในระดับนี้ องค์กรเริ่มโอนย้ายงานบางอย่างไปทำงานอยู่บนคลาวด์ ส่วนใหญ่เป็นงานประเภทที่ไม่ใช่ภารกิจหลักขององค์กร
เช่นงาน Enterprise 2.0 เพื่อการทำงานร่วมกัน และระบบอีเมล์ รูปแบบบริการที่ใช้เป็นได้ทั้ง
IaaS, PaaS, และ SaaS โดยมีรูปแบบการใช้งาน (Deployment
model) ทั้งที่เป็น Private cloud, Public cloud และ Hybrid cloud ปนกัน
1.5.
ระดับที่
5 เป็นระดับเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimized)
ในระดับนี้โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีขององค์กรจะอิงกับบริการคลาวด์เป็นส่วนใหญ่
ระบบจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีสามารถจัดสรรทรัพยากรตามความจำเป็นโดยอัตโนมัติ
และเมื่อซอฟต์แวร์ส่วนใดได้ทำงานเสร็จสิ้นลง
ทรัพยากรที่ใช้ทั้งหมดจะถูกส่งคืนให้ส่วนกลางเพื่อจัดสรรให้งานอื่นต่อไป
ระบบคลาวด์จะทำงานภายใต้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐาน สามารถทำงานร่วมกับคลาวด์ชุดอื่น ๆ ได้
ตอนต่อไป จะพูดถึง Cloud Maturity Model ที่เกี่ยวข้องกับ Applications,
IT Business Processes และ Financial model
No comments:
Post a Comment