เทคโนโลยีดิจิทัลในยุคนี้เป็นเรื่องของการเชื่อมโยงกัน
(Connectivity)
ที่จริงการเชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ตในรอบกว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาได้พัฒนามาแล้วสามยุค
ยุคแรกของอินเทอร์เน็ตเป็นการเชื่อมโยงคนกับข้อมูล
เราสร้างเว็บไซท์ที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ได้ค้นหาและนำไปใช้ประโยชน์
ประกอบด้วยข้อมูลในรูปของสื่อผสม การเชื่อมโยงคนกับข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตช่วยให้คนเราพัฒนาด้านการสื่อสารและการเรียนรู้แบบก้าวกระโดดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ยุคที่สองของอินเทอร์เน็ตเป็นการเสริมอินเทอร์เน็ตด้วย
Social
technology เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างคนกับคน เป็นผลให้เกิดชุมชนใหญ่เล็กในโลกไซเบอร์
ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนทำได้กว้างขวางมากขึ้น
การเชื่อมโยงกลุ่มคนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยสื่อสองทางเป็นผลให้รูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ผู้บริโภคซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้บริโภคที่คอยตั้งรับ (Passive
consumer) กลับกลายเป็นผู้บริโภคที่เล่นบทรุก (Active
consumer) อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ธุรกิจต่างต้องปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดใหม่หมด จากการเน้นขายสินค้ามาเป็นเน้นประโยชน์ที่เกิดจากการใช้สินค้าแทน
บัดนี้ เรากำลังก้าวเข้าสู่อินเทอร์เน็ตยุคที่สาม
ในยุคนี้เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ รู้จักในชื่อว่า Internet of
Things (IoT) และ Internet of Everything (IoE) สรรพสิ่งในโลกนี้
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีกายภาพหรือไม่มีกายภายต่างสามารถเชื่อมโยงกันได้
เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์สารพัดชนิดได้อย่างมีประสิทธิผลและในวงกว้าง
นำไปสู่กระบวนการทำงานอัตโนมัติยุคใหม่ที่นิยมเรียกว่า Pervasive Digital
Automation เป็นระบบอัตโนมัติที่เชื่อมโยงคนทำงาน ระบบงาน
และอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน
รวมทั้งเชื่อมโยงกับวัสดุที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสินค้าที่ผลิตสำเร็จออกสู่ตลาด
ทั้งหมดนี้ต่างเชื่อมโยงกันให้เป็น IoT/IoE เกิดเป็นกระบวนทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
ผลคือทำให้โลกเราก้าวเข้าสู่พัฒนาการการทำธุรกิจในยุคที่เรียกว่า Global Value
Chain ซึ่งหมายถึงระบบธุรกิจที่ทำกิจกรรมแบบบูรณาการทั้งภายใน
“Top
Floor” คือระบบทำงานในสำนักงาน และภายใน “Shop Floor” คือระบบงานในโรงงาน ทั้งระบบ Top Floor และ Shop Floor ต่างเชื่อมโยงกันให้เป็น IoT/IoE และให้ทำงานภายในสภาพแวดล้อมที่เชื่อมโยงกันแบบ End-to-End ไม่เพียงแต่ภายในองค์กร แต่ข้ามหน่วยงานและข้ามประเทศ จนกลายเป็นระบบ Global Value
Chain ที่ทำงานแบบ End-to-End online แบบครบวงจร ระบบซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานลักษณะที่กล่าวต้องถูกออกแบบใหม่ให้ทำงานเป็น
Platform
และบริการด้วย Software services ในลักษณะเป็น Autonomous หรือ Intelligent agents พัฒนาการของการทำงานแบบบูรณาการทั้ง
Top
Floor และ Shop Floor ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้นิยมเรียกว่า Industry 4.0 หรืออุตสาหกรรมยุคที่ 4.0 โดยทั้งหมดนี้เป็น Business Logic ใหม่ที่เกิดจากการปฏิรูปการทำธุรกรรมโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีและแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามที่กล่าวข้างต้นทำให้อุตสาหกรรมดิจิทัลเปลี่ยนไปอย่างมาก
เปลี่ยนทั้งเทคโนโลยี ทั้งผลิตภัณฑ์ทั้งด้านสินค้าและบริการ
เป็นเหตุให้เกิดคำถามว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยเฉพาะของไทยในอนาคตจะรุ่งหรือจะร่วงอย่างไร
ท่านจะเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจตามแนวทางดังกล่าวต้นอย่างละเอียดได้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในงานสัมมนาและนิทัศการนา
ๆ ชาติ “ดิจิทัลไทยแลนด์ 2016” จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2016 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
No comments:
Post a Comment