ตอน บทบาทของ Cloud computing กับ Business Platform
บทความตอนที่แล้ว
อธิบายเรื่องเทคนิคการออกแบบเพื่อตอบสนองความหลากหลายด้านคุณค่าของลูกค้า โดยอาศัยหลักการความหนาแน่น
(Density
Principles) นอกจากนี้
ยังได้กล่าวถึงการออกแบบที่คำนึงถึงการรับมือกับผลที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า (Emergent
value) เนื่องจาก ความต้องการของลูกค้ามีลักษณะเป็น Value
in-context บทความตอนใหม่นี้ จะพูดถึง Platform based software
และบทบาทของ Cloud computing ที่สนับสนุนการทำงานของแพลตฟอร์ม
(Platform)
การออกแบบเพื่อทำงานแบบปฏิสัมพันธ์ (Design
for interactional application)
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วตอนก่อนว่า การออกแบบระบบสนับสนุนการทำงานแบบ Co-creation
of value ในฝั่ง Front office นั้น
ต้องคำนึงถึงการเกิดคุณค่าในขณะที่ลูกค้าใช้บริการ คือคุณค่าที่เกิดขึ้นภายในระบบสร้างคุณค่าของลูกค้า
(Value creating system) เนื่องจากคุณค่าที่กล่าว มีลักษณะเป็น Value in-context จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมดักหน้าไว้ก่อนได้
ระบบ Front office ที่รองรับ Value co-creation จึงมีลักษณะแตกต่างจากระบบ Back office นอกจากนี้ งานที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กัน ยังมีได้หลายระดับ
คือมีผู้เกี่ยวข้องไม่เพียงแค่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการสองต่อสอง
ยังอาจมีพันธมิตรที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ผลลัพธ์จึงขึ้นอยู่กับผลของการปฏิสัมพันธ์ ด้วยเหตุนี้
คุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบ Multi-levels interaction จึงไม่สามารถถูกออกแบบให้เป็น Business processes ที่ทำงานภายในกรอบคงที่
เพราะไม่สามารถกำหนด Business logic ล่วงหน้าได้ทุกขั้นตอน ระบบ Front office ที่ทำงานในเชิงปฏิสัมพันธ์
(Interactional) จึงมีลักษณะดังนี้
1.
เน้นการบริการแบบ Self-service
โดยผู้ใช้ที่ทำงาน Co-creation ต้องสามารถ Mashup
ข้อมูล และ Business processes ได้ด้วยตัวเอง
เพื่อตอบโจทย์ของตนเองตามบริบท ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับผลของการปฏิสัมพันธ์ก่อนหน้านั้น
2.
เน้นการมีเครื่องมือ ที่จะสนับสนุนผู้ใช้บริการด้วยตัวเองได้อย่างสะดวก
เครื่องมือมาในรูปต่าง ๆ เช่น Stateless APIs, Web services, XML
modules, Mashup components, Widgets, ฯลฯ
3.
เน้นความสามารถของระบบแฟลตฟอร์มที่จะอำนวยความสะดวกในการทำงานภายใต้ความไม่แน่นอนของกระบวนการสร้างคุณค่า
โดยผู้ใช้ต้องสามารถ Configure ระบบอัพพลิเคชั่น (Application)ได้โดยง่าย และเป็นอัพพลิเคชั่นที่ทำงานแบบปฏิสัมพันธ์ในหมู่คนที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของแฟลตฟอร์ม
แพลตฟอร์ม
(Platform)
ในความหมายของซอฟต์แวร์ เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบให้ทำงานแยกระดับชั้น
โดยมีกลุ่มซอฟต์แวร์ระดับล่าง (Low level) ทำงานบริการให้กลุ่มซอฟต์แวร์ระดับที่สูงกว่า
จนถึงขั้นระดับ Application กลุ่มซอฟต์แวร์ระดับล่าง เป็นซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบการจัดการการใช้ทรัพยากรไอซีทีในระหว่างทำงานจริง
(Deployment) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่บริการเชื่อมโยงระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับกลุ่มอุปกรณ์
เช่นหน่วยประมวลผล หน่วยบันทึกข้อมูล อุปกรณ์เครือข่าย ฯลฯ กลุ่มซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
(Security) การจัดการและใช้
APIs รวมทั้งด้านมาตรฐานการสื่อสารและส่งข้อมูลระหว่างกลุ่มซอฟต์แวร์คอมโพเนนต์
(Software component) ในบางกรณี กลุ่มซอฟต์แวร์ระดับล่าง ยังรวมซอฟต์แวร์ที่บริการเฝ้าระวังการทำงาน
(Monitoring) ของระบบงาน การตรวจสอบความพร้อมทำงานของส่วนประกอบด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ตลอดจนทำหน้าที่จัดการการแบคอัพ (Backup)
ทำสำรองข้อมูล และบันทึกสถานภาพของโปรแกรม พร้อมที่จะให้บริการกู้คืนการทำงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
หลังจากที่ระบบงานได้หยุดชะงักชั่วคราวอันเป็นผลจากสาเหตุใดก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีงานด้านตรวจสอบสิทธิ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ระบบงาน
กลุ่มซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ Deployment จึงเป็นส่วนพื้นฐานที่สำคัญของระบบแพลตฟอร์ม
กลุ่มซอฟต์แวร์ระดับสูง
(High
level) ของแพลตฟอร์ม โดยทั่วไปจะเป็น แอพพลิเคชั่น ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระแสงาน
(Workflow) หรือกระบวนการ (Business processes) ทำงานเชื่อมโยงกับซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านประมวลผล (Services) แพลตฟอร์มมักจะถูกออกแบบให้แอพพลิเคชั่นปรับเปลี่ยนได้แบบ Plug-and-play
หรือ Configure ได้ตามความจำเป็น
เพื่อสอดคล้องกับงานที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการ Configure
ระบบแอพพลิเคชั่น ตามบริบทของผู้รับบริการ ระบบแพลตฟอร์มจึงมักจะถูกออกแบบให้สามารถบริการผู้ใช้ทำ
Configure แอพพลิเคชั่นด้วยตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ แอพพลิเคชั่นที่มีคุณสมบัติเช่นนี้
นิยมเรียกว่า “Situational application” ผู้ใช้ที่มีทักษะในการสร้าง Situational
application ถือว่าเป็นกลุ่ม Super-users ในกรณีนี้
กลุ่มซอฟต์แวร์ระดับสูงของแพลตฟอร์มจะมีเครื่องมือต่าง ๆ จำนวนหนึ่งสนับสนุน Super-users
สร้างโปรแกรมแบบ Situational application ได้ กลุ่มซอฟต์แวร์ในระดับนี้
นอกจากจะมีเครื่องมือช่วย Mashup ข้อมูล
อย่างกรณีที่เรานำข้อมูลการตลาดมา Mashup ทับซ้อนกับ Google
map ยังอาจใช้Mashup หรือ Re-bundle กระบวนการ หรือ Workflow เพื่อควบคุมกระบวนการทำงานแบบง่าย
ๆ เพื่อตอบโจทย์เฉพาะเรื่องได้ กลุ่มเครื่องมือที่ช่วย Super-user พัฒนา Situational application มีส่วนประกอบหลัก ๆ
เช่น
· ส่วนบริการฐานข้อมูล
· ส่วนบริการเกี่ยวกับกระแสงาน
· ส่วนบริการสร้างรายงาน
· ส่วนบูรณาการหรือผสม
(Mashup)
ข้อมูล
· ส่วนบริการตรรกะของงานแบบง่าย
ๆ
· ส่วนบริการด้าน
User
interfaces
บทบาทของคลาวด์คอมพิวติงเมื่อทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนก่อน
ๆ ว่า คลาวด์มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบริการลูกค้าและประชาชน เมื่อคลาวด์ทำงานร่วมกับอุปกรณ์พกพา
จะเกิดประโยชน์มหาศาลในเชิงสร้างสรรค์แนวคิดใหม่เพื่อการปฏิสัมพันธ์และบริการ ผู้ให้บริการ (หน่วยงานของรัฐ
หรือภาคเอกชน) จะสามารถสร้างนวัตกรรมในเชิงกระบวนการที่พัฒนาเป็นบริการรูปแบบต่าง
ๆ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่า
คลาวด์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบสร้างคุณค่า (Value creation system) ที่สนับสนุนกลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งเพื่อการแข่งขันให้แก่องค์กรในรูปแบบบริการต่าง
ๆ เช่น
1.
ให้บริการลูกค้าในลักษณะ Self-service
ด้วยวิธีรับข่าวสาร และค้นหาข้อมูล ตลอดจนติดต่อสื่อสารกับผู้ให้บริการอย่างใกล้ชิด
(End user to cloud) ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานภาพของลูกหนี้ สอบถามเรื่องสินค้าคงคลัง
สอบถามเรื่องสินค้าระหว่างทาง ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลด้วยตัวเองผ่านคลาวด์ได้โดยตรง
ในการให้บริการผ่านคลาวด์นี้ ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ อาจทำ Reconfigure
กระบวนการสื่อสาร และประมวลผล เพื่อตอบโจทย์เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว
2.
ใช้คลาวด์เชื่อมโยงกับคู่ค้าเพื่อปรับปรุงระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
การจัดการงานในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน
เป็นเรื่องการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะอยู่ในฐานข้อมูลในคลาวด์เดียวกัน หรือต่างฐานข้อมูล
และคลาวด์ต่างชุดกัน
ก็สามารถเชื่อมโยงกันเพื่อบูรณาการได้โดยง่าย นอกจากนี้ เครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ง่าย
ๆ แบบ Situational
application ยังจะช่วยปรับกระบวนการทำงานภายในห่วงโซ่อุปทานได้ตามความจำเป็น
เมื่อต้องการ เกิดความคล่องตัวในการทำงานภายในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ทั้งสองกรณีตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า
คลาวด์และอุปกรณ์พกพา เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงการทำงาน และการเข้าถึงระบบประมวลผล
ระบบฐานข้อมูล และระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ
ในขณะที่ระบบแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญที่จะบริการ Super-users และนักพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ขององค์กร ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ประเภท Situational
applications ได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัด
เมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะสนับสนุนให้องค์กรกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ที่แข่งขันได้อย่างยั่งยืน
โดยเน้นการบริการลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างประทับใจ ซึ่งอาจทำได้เป็น 3
ระดับดังนี้
1.
ระดับปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการใช้คลาวด์สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ทำให้การบริการลูกค้าและคู่ค้าภายในห่วงโซ่อุปทานดีกว่าเดิม
เน้นบริการข้อมูลที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ
ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในด้วยระบบไอซีทีที่มีความคล่องตัว
และทำงานแบบร่วมกัน อย่างมีบูรณาการ
2.
ระดับสร้างนวัตกรรมด้านบริการ
ธุรกิจสามารถออกแบบข้อเสนอใหม่ ๆ ให้ลูกค้า และอาศัยคลาวด์เป็นระบบส่งมอบบริการ
ในลักษณะสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ความสามารถใหม่ที่กล่าว นำไปสู่การขยายฐานธุรกิจ
และกำหนดบทบาทใหม่ภายในห่วงโซ่อุปทาน จนสามารถเพิ่มรายได้อย่างมากได้ เช่น
เปิดโอกาสให้พันธมิตรร่วมกันออกแบบสินค้าและบริการใหม่ ๆ ผ่านคลาวด์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน แทนที่บริษัทและพันธมิตรจะทำหน้าที่เพียงเพิ่มคุณค่า
(Value
added) ในผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบให้ลูกค้า
คลาวด์เปิดโอกาสให้ทุกคนภายในเครือข่ายร่วมสร้างและร่วมเสนอนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์
ทำให้ทั้งกลุ่มสามารถผลิตสินค้าและบริการใหม่ ๆ สนองความต้องการของตลาดที่แท้จริงในช่วงเวลาอันสั้นได้
3.
ระดับปฏิรูปรูปแบบธุรกิจ
สินค้า และบริการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
อาศัยคลาวด์เป็นระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business ego-system) พัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม
อาศัยแนวคิดใหม่ที่แตกต่าง จนเป็นผู้นำด้านความคิดที่จะนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแบบก้าวกระโดด
ที่คู่ข่างยากที่จะตามได้ทัน เช่น
ธุรกิจบริการอาหารในภัตตาคาร แทนที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาเมนูอาหารที่แตกต่างจากคู่แข่ง
กลับเปลี่ยนกลยุทธ์มาร่วมกับนักโภชนาการ
ร่วมวิจัยสูตรอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างจริงจัง อาศัยคลาวด์เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำงานร่วมกัน
แล้วนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้บริโภคอย่างกว้างขวางจนเป็นที่ยอมรับในสังคม
ตัวอย่างที่กล่าวทั้งหมดข้างต้น
เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ทางธุรกิจที่เน้นการสร้างคุณค่าให้แก่คน
สังคม และสิ่งแวดล้อม คลาวด์คอมพิวติงเมื่อรวมกับศักยภาพของอุปกรณ์พกพา
ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ ประโยชน์ของคลาวด์จึงไม่เพียงแค่เป็นรูปแบบการให้บริการไอซีทีในลักษณะการบริการแบบสาธารณูปโภค
แต่เป็นระบบนิเวศทางธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ช่วยการปฏิรูปรูปแบบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ที่ผู้บริหารทุกภาคส่วนพึงให้ความสนใจอย่างจริงจัง
No comments:
Post a Comment