บทความเรื่อง “โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรไอซีทีของกระทรวงไอซีที”
ตอนใหม่ ขอพูดเรื่องประเด็นปัญหา Mismatch between worker
skills and jobs ที่ต้องรับการแก้ไข
ความไม่ตรงกันระหว่างทักษะของแรงงานและการจ้างงาน
มีรายงานวิเคราะห์จากสถาบันต่างประเทศหลายแห่ง
(แนะนำอ่านรายงาน McKinsey & Co. เรื่อง “Help WantedFuture of Work”) สรุปตรงกันว่า แนวโน้มการว่างงาน โดยเฉพาะกลุ่มบัณฑิตจบใหม่จะเพิ่มมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจจะหาคนที่ต้องการยากขึ้น McKinsey ใช้คำว่า
“Mismatch between worker skills and jobs” คนที่ต้องการหางานก็หาไม่ได้
คนที่จะจ้างคนก็จ้างไม่ได้ เกิดช่องว่าง (Gap) ระหว่างคนที่จะหางาน
กับธุรกิจที่ต้องการจ้างงาน เป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ นักเศรษฐศาสตร์ให้เหตุผลว่า เกิดจากอิทธิพลของเทคโนโลยี
และโลกาภิวัฒน์
ในด้านปัญหาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีนั้น
พอเข้าใจที่มาดังต่อไปนี้
1.
การใช้เทคโนโลยี เช่นเครื่องจักรกล ได้ทดแทนแรงงานในสายการผลิตมาช้านาน
ประเทศกลุ่มที่พัฒนาแล้ว นิยมลงทุนในระบบอัตโนมัติ ทำให้ใช้แรงงานน้อยลง แต่มีจำนวนหนึ่ง
ที่ไม่ลงทุน กลับเลือกกลยุทธ์ Outsource การผลิตไปประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า
เป็นเหตุให้ประเทศเหล่านี้ มีอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนตกงานกลุ่มนี้
หางานอื่นทำได้ยาก เนื่องจากขาดทักษะและความรู้ที่ธุรกิจต้องการ สำหรับประเทศไทยนั้น
เรายังดำเนินนโยบายสร้างรายได้จากการผลิต แต่ไม่นิยมลงทุนใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
ผลจากนโยบายที่กล่าว ทำให้ต้องเผชิญปัญหา Mismatch ในอีกรูปแบบหนึ่ง
คือมีบัณฑิตตกงานมาก ในขณะที่ขาดแคลนช่างฝีมือป้อนโรงงาน เป็นปัญหาที่เกิดจากค่านิยม
คือแรงงานรุ่นใหม่มุ่งเรียนระดับปริญญาที่ไม่เกี่ยวกับช่างฝีมือ
หวังจะทำงานเบา แต่ให้มีรายได้สูง มาพบว่า งานในสำนักงานก็กำลังหายากตามที่จะกล่าวในข้อ
2 ต่อไป
2.
งานในสำนักงานที่ใช้เทคโนโลยี เช่นคอมพิวเตอร์
เป็นงานที่เน้นใช้เครื่องจักรประมวลผลข้อมูล และจัดการเกี่ยวกับงานเอกสาร
ความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการแบบอัตโนมัติ ทดแทนการทำงานด้วยคน ทำให้สำนักงานใช้คนน้อยลง
ขณะนี้ ภาคการศึกษายังคงผลิตบัณฑิตตามแนวคิดเดิม คือเน้นสอนไอซีที เพื่อใช้งานประมวลผล
และทำงานตามกระบวนการของสำนักงานแบบอัตโนมัติ เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว
เมื่อสำนักงานสามารถใช้ไอซีทีเพิ่มศักยภาพทำงานได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนว่างงานระดับบัณฑิตก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน การแข่งขันธุรกิจที่รุนแรงขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์
จากการมุ่งพัฒนาศักยภาคการผลิต และการตลาด มาเป็นการสร้างทักษะการสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค
(Value
creation) จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะรูปแบบใหม่ที่ยังหาไม่ได้
3.
การใช้เทคโนโลยีไอซีทียุคใหม่ เป็นการ Empower ให้คนทำงาน มีความสามารถที่จะปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าและพันธมิตร
เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับจัดการ หรือเจ้าหน้าที่การคลาดและการขาย
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บริการลูกค้า และตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ
จำเป็นต้องมีความรู้ทักษะในเชิงบริการรูปแบบใหม่ ที่เน้นการสร้างคุณค่าเป็นหลัก
การบริการแนวใหม่ เป็นการใช้ทักษะและความรู้ เพื่อสร้างคุณค่าให้บุคคลอื่น อาศัยเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก
และใช้ความรู้และข้อมูลเป็นหลักสำคัญของการให้บริการ ทั้งนี้ รวมทั้งผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน
เช่นครูอาจารย์ แพทย์ นักการปกครอง ทนายความ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ฯลฯ ทั้งหมดถือเป็นงานในหน้าที่ที่เน้นการใช้ทักษะและความรู้เฉพาะในรูปแบบบริการและสร้างคุณค่า
โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นทักษะและความรู้แขนงใหม่ที่ขาดแคลน การ Mismatch
ระหว่างทักษะและความรู้ของคนงาน
กับงานที่ต้องการทักษะและความรู้แขนงใหม่ ๆ จะขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ
ถ้าไม่รีบเร่งแก้ไข
ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ถูกออกแบบให้สอนหลักสูตรไอซีที
เพื่อให้บัณฑิตสามารถสร้างระบบงานที่ทำงานแบบ Transaction คือประมวลผลรายการข้อมูลตามกระบวนการของธุรกิจ
แต่ธุรกจยุคใหม่ เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ไอซีทีเพื่อปฎิสัมพันธ์ (Interaction)
กับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อสร้างคุณค่า (Value creation) เป็นการใช้ไอซีทีต่างมิติ ทั้งการออกแบบระบบไอซีที
และแนวคิดในเชิงยุทธศาสตร์ ไอซีทีจะถูกนำมาใช้ เพื่อสนับสนุนการทำงานประเภท Complex
interaction สามารถตัดสินใจเพื่อให้เกิดผลในเชิงสร้าง Customer
experience ช่วยผู้อื่นแก้ปัญหาในบริบทที่แตกต่างกัน
ทั้งหมดเป็นเรื่องของงานที่อาศัยความรู้ระดับสูง (Deep knowledge) ทั้งสิ้น การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อรองรับปรากฎการณ์ที่กล่าว
เป็นการปรับปรุงในระดับสหวิทยาการ ซึ่งต้องใช้เวลาและการลงทุน ในขณะที่ความกดดันจากการแข่งขันทางธุรกิจ
ทำให้ธุรกิจไม่สามารถรอนานได้
หนทางแก้ไขปัญหาการ
Mismatch
ระหว่างคนว่างงาน กับทักษะความรู้ชนิดใหม่ที่ธุรกิจต้องการ ต้องอาศัยระบบการศึกษาที่มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
และวิธีการสอนตามความต้องการของตลาด ไม่อยู่ในกรอบของกฎระเบียบของทั้งรัฐบาล
และข้อจำกัดของสถาบัน ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือบริษัทยักษ์ใหญ่ Infosis
ของอินเดีย ที่ให้บริการ Outsource ด้านไอซีทีจากบริษัททั่วโลก
ต้องสร้างสถาบันฝึกอบรมสำหรับตัวเอง เพื่อฝึกผู้ชำนาญการด้านไอซีทีแขนงต่าง ๆ
ที่ทันสมัย สนองความต้องการลูกค้าทั่วโลก ปีละกว่า 45,000 คน
โดยเน้นการสอนเฉพาะกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องการการทำงานเท่านั้น ภารกิจของสถาบันพัฒนาบุคลากรไอซีทีของกระทรวงไอซีที
มีลักษณะคล้ายสถาบันพัฒนาแรงงานฝีมือด้านไอซีทีของ Infosis
ช่องว่างระหว่างการว่างงาน
กับการจ้างงาน ยังเกิดจากปัญญาสมองไหลไปสู่ต่างประเทศ ที่มีงานที่ท้าทายกว่า โลกาภิวัฒน์ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงาน
และเงินทุน รื่นไหลจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้สะดวก และเป็นอิสระมากขึ้น
งาน และเงินทุนย่อมจะไหลไปสู่ประเทศที่มีแรงงานที่มีทักษะและความรู้ตรงตามที่ต้องการ
ปัญญาและความรู้พิเศษเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก และหายาก ประเทศที่สามารถพัฒนาให้พลเมืองของตนมีปัญญาและความรู้พิเศษที่ธุรกิจต้องการ
ย่อมจะมีความได้เปรียบ ในยุคที่ไอซีทีช่วยเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ให้เป็นโลกที่ปราศจากพรมแดน
ทำให้เกิดสงครามแย่งแรงงานที่มีปัญญาและทักษะ ในโลกของการเชื่อมโยงด้วยอินเทอร์เน็ต
การแย่งแรงงานฝีมือ ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศเหมือนแต่ก่อน งานประเภทใช้ปัญญาและความรู้
ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ที่ทำงาน
คนที่มีปัญญาและความรู้เลือกทำงานตามสถานที่ที่เหมาะสม เป็นเหตุให้การไหลออกซึ่งทรัพยากรที่มีค่าไปสู่ประเทศที่มีงานรอรับอย่างขาดการควบคุม
ปัญหาเรื่องสมองไหลในประเทศที่กำลังพัฒนาจะรุนแรงกว่ายุคก่อนมาก
ประเทศไทยอยู่ในฐานะลำบากมาก
ในการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปํญหาเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างการว่างงาน
กับการจ้างงาน อันเนื่องจากพัฒนาการทางเทคโนโลยี และโลกาภิวัฒน์ ประเทศไทยถูกประเมินโดย
World
Economic Forum (WEF) ว่าศักยภาพการแข่งขัน อยู่ในระดับที่สอง
คือระดับที่สร้างศักยภาพการแข่งขัน ด้วยระบบสาธารณูปโภคที่พร้อม
และแรงงานที่ถูกกว่า เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านการผลิตจากต่างประเทศ แต่ยังขาดศักยภาพด้านสร้างนวัตกรรม
และการทำธุรกิจที่อาศัยปัญญา ความรู้ และการสร้างสรรค์ เป็นที่รู้กันว่า
ไทยได้อาศัยมาตรการดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านการผลิต จนประสบความสำเร็จอย่างมากในรอบกว่า
40 ปีที่ผ่านมา ไทยจะทำเช่นนี้ต่อไปอีก 40 ปีคงเป็นไปไม่ได้ เราได้มาถึงจุดที่มาตรการเดิมเริ่มจะล้าสมัย
และไม่ยั่งยืน ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะเราต่างรู้ว่า All good things must come
to an end แต่ที่น่ากังวล คือมาตรการที่จะนำไทยไปสู่ ระดับที่สามของการแข่งยันระดับโลก
คือการแข่งขันด้วยนวัตกรรมและปัญญา ตาม Roadmap ของ WEF
นั้น ยังไม่ชัดเจน ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ไทยเริ่มมีปัญหาขาดคนงานฝีมือที่จะป้อนโรงงาน
ในขณะที่แรงงานภาคอื่นเริ่มหางานทำยากขึ้น
อัตราการขยายคนงานที่มีปัญญาและความรู้รองรับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ที่เน้นการสร้างคุณค่า
และธุรกิจเชิงปฎิสัมพันธ์ และเชิงความรู้ ยังต่ำมาก
โดยเฉพาะในส่วนของไอซีทีและเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 3
เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง Mismatch ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ประเทศไทย จำเป็นต้องมีสถาบัน
หรือหน่วยงานที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างงานที่ทันสมัย ส่งผลให้ภาคธุรกิจเริ่มปฎิรูปแนวทางการทำธุรกิจ
โดยเน้นทักษะด้านการปฎิสัมพันธ์ และการสร้างคุณค่า ภายใต้เศรษฐกิจฐานความรู้
และสร้างสรรค์ในเชิงบริการ ในขณะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีไอซีทีสมัยใหม่
และการประยุกต์ใช้ไอซีทีสมัยใหม่
ที่รองรับการปฎิรูปแนวทางการทำธุรกิจที่กล่าวข้างต้น
สถาบันพัฒนาบุคลากรไอซีทีของกระทรวงไอซีที น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสม
No comments:
Post a Comment