ที่น่าห่วง คือกลุ่มธุรกิจ SMEs เพราะเกรงว่ารัฐจะเข้าดูแลไม่ทั่วถึง และทันการณ์ จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีรายงานว่า ความเสียหายในกลุ่ม SMEs มีจำนวนมากน้อยเพียงใด ที่กระจัดกระจายภายในเขตอุทกภัยตามจังหวัดต่าง ๆ ยากที่รัฐจะสามารถเข้าไปทำหน้าที่เยี่ยวยาอย่างทั่วถึงได้ อีกประการหนึ่ง การพัฒนาผลิตภาพของชาติก็คงต้องสดุดด้วย และส่งผลกระทบในทางลบต่อประสิทธิผลของประเทศโดยรวมในระยะปานกลาง ที่เห็นแน่ชัด คือ เยาวชนในระดับอาชีวะและอุดมศึกษาที่จะเป็นเรี่ยวแรงสำคัญของขาติในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า จำนวนหนึ่งจะขาดเงินทุนสนับสนุนการศึกษาแบบฉับพลัน เนื่องจากรายได้ประจำของทั้งตัวเองและครอบครัวได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ จึงหวังว่ารัฐบาลจะเร่งสร้างมาตรการให้เงินกู้เพื่อการศึกษาพิเศษแก่กลุ่มเยาวชนที่กล่าว ก่อนที่ความเสียหายจะบานปลายจากเป็นปัญหาระยะสั้นไปเป็นปัญหาระยะยาว
ในช่วงของการฟื้นฟู ซึ่งไม่มีรู้จะต้องใช้เวลานานเพียงใด เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการช่วยแก้ปัญหาด้านผลิตภาพให้แก่กลุ่มธุรกิจ SMEs ผมขอถือโอกาสนี้เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ พิจารณากลยุทธ์สำหรับการฟื้นฟูระยะปานกลางที่จะเห็นผลในระยะ 2-3 ปี เพราะเชื่อว่ารัฐบาลคงมีแผนระยะสั้น ที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์โดยเร่งด่วน กลยุทธ์ที่จะนำเสนอนี้มีหกมาตรการภายใต้สองกลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 : ส่งเสริมให้มีระบบ Supply Chain ที่ทันสมัย เนื่องจากห่วงโซ่อุปทาน เมื่อทำถูกวิธี จะช่วยเร่งเพิ่มผลิตภาพ และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของสูญเสียจากการปฎิบัติที่มองไม่เห็น เป็นการช่วย SMEs ให้สามารถบริหารทรัพยการอันจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มาตรการที่ 1 ให้ผู้ชำนาญจัดทำระบบ Supply Chain Management สมัยใหม่ที่อาศัย ICT ที่ เหมาะสมกับธุรกิจประเภทต่าง ๆ เป็นการออกแบบกระบวนการทำธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ
- มาตรการที่ 2 สนับสนุนให้มีระบบ Supply Chain Management ที่ใช้ ICT ประกอบด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่จำเป็นเพื่อบริหารงานหลัก ๆ ของ SMEs เช่น Customer Relationship Management, Customer Service Management, Order Fulfillment, Manufacturing flow management, ฯลฯ จัดให้บริการระบบซอฟต์แวร์เหล่านี้ในรูปแบบบริการผ่าน Cloud Computing เพื่อให้ SMEs ไม่ต้องลงทุนโดยไม่จำเป็น
- มาตรการที่ 3 รัฐบาลจะใช้ข้อมูลจากการใช้ระบบห่วงโซ่อุปทาน พิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างตรงประเด่น ข้อมูลชุดนี้จะช่วยบ่งบอกถึงความขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูธุรกิจโดยเร็ว เช่น วัตถุดิบ เครื่องมือ ฐานข้อมูล องค์ความรู้ และเงินทุนหมุนเวียน
- มาตรการที่ 1 ให้มีระบบเพิ่มความรู้และฝึกทักษะที่เหมาะกับยุคสมัย ให้แก่พนักงานของธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มวิชาบริหารห่วงโซ่อุปทาน และกลุ่มวิชาไอซีที ด้านใช้เทคโนโลยีเว็บและสื่อสังคมเพื่อพัฒนาธุรกิจ มาตรการนี้ ต้องอาศัยระบบการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และต้องมีนักวิชาการร่วมทำบทเรียนและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนสมัยใหม่ และมีคุณภาพ ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ ต้องสามารถบริการการเรียนการสอนแก่คนจำนวนมากเป็นแสน ๆ คนในเวลาอันสั้น ด้วยบทเรียนที่หลากหลาย มาตรการนี้ จำเป็นต้องออกแบบระบบการเรียนการสอน รวมทั้งออกแบบวิธีที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ด้วยแนวคิดใหม่ ๆ ที่เหมาะสม
- มาตรการที่ 2 รัฐบาลต้องเร่งโครงการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ทั้งระบบสาย และไร้สาย ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรองรับมาตรการอื่น ๆ ตามกลยุทธ์เร่งด่วนดังกล่าว
- มาตรการที่ 3 รัฐบาลต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนา Open Source Software ในรูป Business application ที่ครอบคลุมงานต่าง ๆ ของธุรกิจ SMEs เพื่อประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ที่จะให้ธุรกิจได้มาซึ่งระบบซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูธุรกิจของตนเอง
ผมทำข้อเสนอนี้ในลักษณะโยนหินถามทาง คือต้องการที่จะจุดประกายให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ได้ช่วยกันระดมสมองว่า การร่วมช่วยแก้ปัญหาฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของไทยครานี้ Realistically ควรจะเป็นรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม และได้ผลรวดเร็ว เพราะเรากำลังทำแข่งกันเวลา ต้องยอมรับว่า อุทกภัยงวดนี้ สร้างความเสียหายให้กับคนไทยมากมายเหลือคณานับ พวกเราในภาคไอซีทีต้องรีบช่วยกันคิดและทำ หลายท่านคงคิดแบบเดียวกัน ว่าไอซีทีน่าจะมีบทบาทที่จะช่วยฟื้นฟูประเทศครานี้ แต่จะทำอย่างไร
No comments:
Post a Comment