หลายคนยังคิดว่า การทำกิจกรรมแบบ “ทางสังคม หรือ Social” นี้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์คือพวกเราที่เป็นปัจเจกชนเท่านั้น แต่ความเป็นจริง ถ้าธุรกิจเริ่มสามารถปรับตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้ ผลดีต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง ไม่เฉพาะเพียงช่วยเพิ่มผลิตภาพ แต่ประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจตามมาคือ
- ผู้บริโภคจะช่วยเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการปรับปรุง หรือพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้น เปิดโอกาสให้ลูกค้าร่วมกันสร้างคุณค่า ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืน และประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้
- ผู้บริโภค และพันธมิตรมีความไว้วางใจ และมีความจริงใจที่จะร่วมทำธุรกรรมด้วยในระยะยาว เพราะความใกล้ชิดจากการปฎิสัมพันธ์กันผ่านเครือข่ายสังคม
- เป็นวิธีที่จะลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย อันจะนำไปสู่การบริหารราคาสินค้าและบริการที่มีประสิทธิผล และได้เปรียบในการแข่งขัน
- เปิดโอกาสให้ขยายเครือข่ายได้อย่างไม่จำกัด ตราบใดที่ธุรกิจสามารถใช้เครือข่ายสังคมนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่ผู้บริโภคและสังคมอย่างจริงจังและจริงใจ สร้างความได้เปรียบจากทั้ง Economic of scale และ Economic of scope
การทำธุรกิจทางสังคม (Social Business) ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความสามารถในการเชื่อมโยงบุคคลสามกลุ่ม ให้ใกล้ชิดและร่วมกิจกรรมในฐานะผู้ร่วมผลิต (Co-creators) และทำในลักษณะที่ทุกกลุ่มได้คุณค่าและประโยชน์ตามบทบาทของตัวเอง บุคคลสามกลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกค้า ผู้ที่เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ 2) พันธมิตร ผู้ที่อยู่ในส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน ที่ช่วยผลิตสินค้าและบริการ และ 3) พนักงาน คือบุคลากรของธุรกิจที่มีหน้าที่ที่จะบริการและช่วยสร้างคุณค่าให้ลูกค้า การเชื่อมโยงคนทั้งสามกลุ่ม นำไปสู่การพัฒนาตลาดที่เป็นเวทีที่ให้ทุก ๆ คนร่วมกันสร้างโอกาส และคุณค่า เพื่อแบ่งปันกัน
ธุรกิจที่จะปรับตนเองให้เป็น Social Business ต้องกระหนักถึงคุณสมบัติหลัก ๆ ดังนี้
- เปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่า และให้แนวคิดที่จะปรับปรุงสินค้าและบริการ ลูกค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ซึ่งทำให้การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่ามีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากเป็นการร่วมกิจกรรมกับคนหมู่ใหญ่ แต่ละคนมีรสนิยม และความคาดหมายต่างกัน การประเมินความพอใจในคุณค่าของสินค้าและบริการต่างกัน
- การบริหารธุรกิจไม่เป็นไปตามแนวที่เคยเป็น คือการบริหารตามโครงสร้างแบบแบ่งชั้น (Hierarchical structure) แต่การร่วมกิจกรรมกับคนสามกลุ่มที่กล่าวข้างต้น เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานเป็นแบบเครือข่าย ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
- เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจไม่จำกัดที่การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการด้วยเงิน (Money-based transaction) เหมือนแต่ก่อน การแลกเปลี่ยนอาจมาในรูปของความคิด (Idea) หรือชิ้นงาน (Work) หรือผลที่ได้ทางเศรษฐกิจในรูปอื่น เราคงจะคุ้นเคยกับรูปแบบธุรกิจแบบ Open Source Software หรือการบริการ Search Engine หรือการบริการของกลุ่ม Public Social Network ที่ให้บริการฟรี แต่ธุรกิจกลุ่มนี้มีความยั่งยืนได้ เพราะมีช่องทางได้ทุนทรัพย์ หรือทรัพยากรด้วยวิธีอื่น แทนการได้เงินจากผู้บริโภคโดยตรง ในรูปแบบที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Attention Economy”
- การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ เริ่มแตกตัวเป็นหน่วยย่อย ๆ ในรูปของ Outsourcing มากขึ้น ผู้มีความชำนาญเฉพาะทางจะมีมากขึ้น แต่เป็นทรัพยากรนอกองค์กรที่เราสามารถซื้อบริการได้ แทนที่จะรวมกันอยู่ในองค์กรเป็นบริษัทขนาดใหญเหมือนแต่ก่อน
แนวคิดที่จะทำให้ธุรกิจทางสังคมบังเกิดผล แบ่งเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
- พยายามหาวิธีให้ชุมชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
- พยายามลดขั้นตอนในการทำงานและบริการ ให้กระชับ และให้ความสะดวกแก่ลูกค้า ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สั้นและง่าย
- ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางสังคมที่ได้มาจากเครือข่ายสังคม เพื่อวิเคราะห์ให้รู้ซึ้งในความต้องการของผู้บริโภค และหาทางตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพ
- หลีกเลี่ยงการใช้เครือข่ายสังคมเป็นเวทีเพื่อการโฆษณา แต่ใช้เป็นเวทีเพื่อให้ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์กับลูกค้า และพันธมิตร
- เปลี่ยนแนวคิดจากธุรกิจขายสินค้า เป็นการให้บริการ และทำตัวเองเป็น Integrator เพื่อเชื่องโยงสินค้าและบริการจากพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อให้บริการลูกค้าแบบเบ็ดเสร็จ และครบวงจร
- พยายามใช้ความรู้เป็นปัจจัยเพื่อการแข่งขัน
ขออนุญาติฝากลิ้งนะคร่ะ สำหรับคนรักการเสี่ยง
ReplyDeleteเราเป็นผู้ให้บริการแทงบอลออนไลน์ SBOBET, คาสิโนออนไลน์, gclub, holidaypalace, มั่นคง รวดเร็ว และแน่นอน ฝาก-ถอน ตลอด 24 ชั่วโมง ฝากขั้นต่ำ 500 บาท ... https://www.111player.com