Sunday, November 9, 2014

บทบาทของ Enterprise Architecture กับ Service Scienceในการจัดการธุรกิจยุคใหม่ ตอนที่ 7



               บทความตอนที่ 6 ได้นำเสนอความหมายของสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture, EA) และความหมายของ Viewpoint ในบริบทของ EA โดยมีสาระสำคัญว่า EA เป็นการนำเสนอสถาปัตยกรรมขององค์กรด้วยรูปแบบ (Model) ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างฟังชั่นทางธุรกิจ กระบวนการทำงาน พนักงานและตัวองค์กรเอง เรียกรวมกันว่า Business Architecture กับกลุ่มข้อมูลทางธุรกิจ และระบบซอฟต์แวร์ Applications เรียกรวมกันว่า Information architecture และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์ เรียกรวมกันว่า  Technology architecture   ถ้าสถาปนิกออกแบบแผ่นพิมพ์เขียวได้ดี จะทำให้เห็นแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนธุรกิจว่าสามารถรองรับยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กรหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ EA ยังช่วยให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติงานในองค์รวม ในรูปกระบวนการทำงาน (Business processes) ระดับต่าง ๆ ทำให้ฝ่ายจัดการเข้าใจประเด็นปัญหาและนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขวิธีทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้  
 
EA จะให้ประโยชน์ได้หรือไม่เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก (Architect) ที่จะออกแบบแผ่นพิมพ์เขียว (Blueprint) ให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ได้เข้าใจงานที่ตัวเองรับผิดชอบ สัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่ใช้และกับส่วนงานอื่นที่ทำงานร่วมกัน โดยแผ่นพิมพ์เขียวชุดหนึ่ง ๆ ที่จัดทำขึ้นเรียกว่า “View”  โดยแต่ละ View จะถูกออกแบบเพื่อนำเสนอสิ่งสำคัญที่อยู่ในความสนใจ (Concerns) ของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ภายใต้กรอบที่กำหนดขึ้นเรียกว่า Viewpoint ดังนั้น Viewpoint จึงเป็น Template ที่ถูกใช้เพื่อสร้าง View

ในบทความตอนใหม่นี้ จะอธิบาย View และ Viewpoint เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอจากกรอบแนวคิด หรือ Framework สามชุด ได้แก่ Zachman Framework, IEEE 1471 และ ArchiMate นำไปสู่การเรียนรู้วิธีสร้างแผ่นพิมพ์เขียวเพื่อนำเสนอสถาปัตยกรรมองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่Stakeholders ที่จะนำไปใช้ทำงานตามหน้าที่และตามความรับผิดชอบได้

2.1.     Zachman Framework
John Zachman เป็นผู้ริเริ่มความคิดการจัดระบบรวบรวมรายละเอียดเพื่ออธิบายสถาปัตยกรรมองค์กรในปี 1987 เพราะเชื่อว่าการจัดทำรายละเอียดอธิบายความสัมพันธ์ของส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กร ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ รูปแบบโครงสร้างบริหารงาน ตลอดจนระบบสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อสนับสนุนการทำงานนั้น มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการ รวมทั้งการออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรด้วย  ความสำเร็จในโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ ถ้าขาดความเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นจะนำไปสู่ความล้มเหลวของโครงการในที่สุด  การจัดทำแผ่นพิมพ์เขียวที่จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กรในแง่มุมต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นไม่ว่าจะเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือการกำหนดยุทธศาสตร์และการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กร  

John Zachman ได้เสนอแนวคิดการรวบรวม เรียบเรียงและจัดให้เป็นระบบ (Organize) ของส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เช่นการออกแบบองค์กร ออกแบบระบบสารสนเทศ ออกแบบระบบฐานข้อมูล รูปแบบแสดงขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนรูปแบบแสดงความสัมพันธ์ของระบบคอมพิวเตอร์กับโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีอื่น ๆ ในรูปของตารางสองมิติ ประกอบด้วยแกนตั้ง (Columns) แสดงเรื่องเนื้อหาของสถาปัตยกรรมขององค์กร (Aspects) และแกนนอน (Rows) แสดงระดับรายละเอียดหรือความลึกของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง (Perspectives) (ดูตัวอย่างจากรูปที่ 1)  ท่านอธิบายว่า เหมือนกับการนำเสนอสถาปัตยกรรมของอาคาร ในกรณีของเนื้อหาของอาคารนั้น มีเรื่องโครงสร้างอาคาร  การออกแบบภายในอาคาร การเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งระบบระบายอากาศของระบบปรับอากาศ และอื่น ๆ แต่การนำเสนอเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดให้แก่เจ้าของอาคารจะมีรายละเอียดน้อยกว่าการนำเสนอส่วนเดียวกันให้กับวิศวกรไฟฟ้า หรือผู้ก่อสร้าง เจ้าของอาคารต้องการเห็นภาพรวมและส่วนประกอบหลัก ๆ ของอาคาร รวมทั้งประมาณการราคาก่อสร้าง ในขณะที่ผู้รับเหมาต้องการแบบพิมพ์เขียวที่มีรายละเอียดบ่งบอกขนาดของเหล็กเส้นและวัสดุอื่น ๆ รวมทั้งรายละเอียดการก่อสร้างเพื่อช่วยการทำงานเช่นตอกเสาเข็มและการก่อสร้างเป็นต้น

ด้วยแนวคิดที่กล่าว John Zachman แนะนำให้แบ่งส่วนที่เป็นเนื้อหาของสถาปัตยกรรมองค์กรออกแบบ 6 เรื่อง และแบ่งความละเอียดในการนำเสนอเป็น 6 ระดับ รวมเป็นการนำเสนอในเชิงสถาปัตยกรรมองค์กร 36 เรื่องประกอบด้วย

1)        ส่วนที่เป็นเนื้อหาเชิงสถาปัตยกรรม (Aspects) ประกอบด้วย
                                                                                      i.               Data ได้แก่ส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องใช้ในระหว่างการทำธุรกรรม (What)
                                                                                   ii.               Function ได้แก่ส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการทำงาน ขั้นตอนและกระบวนการทำงานของธุรกิจ (How)
                                                                                 iii.               Network ได้แก่ตำแหน่งที่ตั้งของส่วนงานและสำนักงานต่าง ๆ ขององค์กร (Where)
                                                                                 iv.               People ได้แก่ส่วนต่าง ๆ ตามโครงสร้างขององค์กร ประกอบด้วยคนที่ทำงานในทุกระดับขององค์กร รวมทั้งตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ภายในองค์กร (Who)
                                                                                    v.               Time ได้แก่ส่วนที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ Events สำคัญ ๆ ที่มีผลต่อการทำงานและการบริการลูกค้า (When)
                                                                                 vi.               Motivation ได้แก่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กรที่มีผลต่อการจ้างงาน การปฏิบัติหน้าที่การงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Why)

2)        ส่วนที่เป็นระดับรายละเอียดหรือความลึกของการนำเสนอ (Perspective) ซึ่งเนื้อหาและรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใช้ข้อมูล (Stakeholder) หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบงานในแต่ละดับจะมีมุมมอง (Perspective) ของสถาปัตยกรรมองค์กรแตกต่างกันเหมือนความแตกต่างระหว่างเจ้าของอาคารกับผู้รับเหมา  ในบริบทนี้ Zachman แนะนำให้แบ่งรายละเอียดของการนำเสนอเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย

                                                                                      i.               Executive perspective (Business contextual planner)  เป็นการมองสถาปัตยกรรมองค์กรในระดับที่เป็น Abstract มาก เป็นการมองดูสถาปัตยกรรมองค์กรในภาพใหญ่และเป็นภาพรวม เป็นการกำหนดขอบเขตเนื้องานภายในโครงการ  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงจะเป็นผู้ใช้ข้อมูลระดับนี้
                                                                                   ii.               Business management perspective (Business concept, owner, enterprise model) เป็นการมองสถาปัตยกรรมองค์กรในเชิงมโนภาพ (Concept)  แผ่นพิมพ์เขียวในระดับนี้ใช้สำหรับเจ้าของโครงการหรือเจ้าของหน่วยงานที่ต้องการรู้เพียงความสามารถของระบบงาน หรือระดับความรับผิดชอบของงานที่หน่วยงานรับผิดชอบ รวมทั้งความสัมพันธ์กับระบบงานอื่นหรือหน่วยงานอื่น การออกแบบระบบ Conceptual design เป็นการนำเสนอที่ถูกจัดอยู่ในระดับนี้
                                                                                 iii.               Architect perspective (System model, Designer, Business logical) แผ่นพิมพ์เขียวระดับนี้เป็นการแสดงการออกแบบในรายละเอียด หรือ Logical design  แผ่นพิมพ์เขียวในมุมมองของนักออกแบบระบบจะมีรายละเอียดมากในด้านเทคนิคที่จะนำไปสู่การสร้างระบบที่ทำงานจริงได้
                                                                                 iv.               Engineer perspective (Technology model, Builder, Physical) เนื้อหาในเชิงสถาปัตยกรรมองค์กรระดับนี้ จะเน้นการออกแบบในเชิงวิศวกรรม  มีสถาปัตยกรรมของระบบที่นำไปสู่การสร้างและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายรวมทั้งการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์
                                                                                    v.               Technician perspective (Detailed Representations, Sub-contractors, implementer) แผ่นพิมพ์เขียวในระดับนี้ต้องมีรายละเอียดระดับชิ้นส่วนของระบบงาน เช่นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในระดับ Function/Feature และส่วนเชื่อมต่อประสานงาน หรือชิ้นส่วนซอฟต์แวร์ (Software components) ในกรณีของระบบซอฟต์แวร์ หมายถึงการออกแบบระบบซอฟต์แวร์ในรายละเอียดที่นักพัฒนาสามารถนำไปเขียนโปรแกรมและทดสอบโปรแกรมได้
                                                                                 vi.               Enterprise perspective (The functional enterprise, Users) หมายถึงเอกสารที่บรรยายการปฏิบัติงาน เช่นขั้นตอนการทำงาน รายละเอียดข้อมูลของงานแต่ละขั้นตอน รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ในแต่ละขั้นตอน และการแก้ไขปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
      Cell ทั้ง 36 cells ใน Zachman Framework ถือเป็น “Viewpoint” แบบพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็น View ได้ ตัวอย่างเช่น ช่องที่ตัดระหว่าง Column 2- Row 2 คือ “Business Process Model” ถือ


Enterprise
What
How
Where
Who
When
Why
Executive perspective
(Planner)
List of entities
List of processes
List of locations
List of organization
List of events
List of business goals and strategies
Business management perspective
(Owner)
Entities Models
Business process models
Business logistics system
Workflow model
Master schedule
Business plan
Architect perspective
(Designer)
Logical data model
Application architecture
Distributed system architecture
Human interface architecture
Process structure
Business rules models
Engineer perspective
(Builder)
Physical data model
System design
Technology architecture
Presentation architecture
Control structure
Rule design
Technician perspective
(Programmer)
Data definition
Programs
Network architecture
Security architecture
Timing definition
Rule definition
Enterprise perspective
(User)
Data
Functions
Network
Organization
Schedule
Strategy

              รูปที่ 1     ตารางแสดงตัวอย่าง Zachman Framework

เป็น Viewpoint พื้นฐานหนึ่ง Viewpoint  สถาปนิกอาจใช้ภาษา BPMN หรือ UML ออกแบบกระบวนการธุรกิจชุดหนึ่ง  Business process model ชุดดังกล่าวคือ “View” หนึ่งวิวนั่นเอง หรือเป็นแผ่นพิมพ์เขียวมิติเดียว (Single dimension) ในรูปแบบหรือ Model ที่ใช้ภาษา BPMN หรือ UML,  Business process model ชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมองค์กรที่เกี่ยวกับ Function หรือขั้นตอนการทำงานในมุมมองของ Business Management แต่ในมุมมองของผู้บริหารระดับสูง (Executive perspective) นั้น ขั้นตอนการทำงานชุดเดียวกันนี้ อาจแสดงเป็น View ในรูปแบบอื่น เช่น เป็นตารางระบุชื่อของกระบวนการทำงานต่าง ๆ และหนึ่งในรายการตารางระบุชื่อกระบวนการ ปรากฏเป็นชื่อ  ขั้นตอนการรับคืนสินค้า
Viewpoint ในบริบทของ Zachman Framework อาจประกอบด้วยช่อง (Cell) มากกว่าหนึ่งช่อง (Cell) ได้ ถือว่าเป็น Viewpoint แบบหลายมิติ ในกรณีนี้จะเน้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Cell  ตัวอย่างเช่น  Viewpoint ที่แสดงผู้รับผิดชอบงานบริการลูกค้า ด้วยกระบวนการ บริการรับคืนสินค้า และระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลรองรับการ บริการรับคืนสินค้า   Viewpoint นี้ประกอบด้วย Cell 3 Cells คือ Who-owner, How-Owner, และ How-Builder  Viewpoint ตามตัวอย่างนำไปสู่การสร้างแผ่นพิมพ์เขียว หรือ View ที่แสดงให้เห็นพนักงานบริการลูกค้าตามขั้นตอนที่ปรากฏใน Business Process ที่ถูกออกมาให้โดยเฉพาะ โดยขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอนนั้นสนับสนุนด้วย  Software components ที่กำหนดตามที่แสดงในรูปที่ 2



รูปที่ 2  แสดง View ของ Viewpoint ของตัวอย่าง Multiple cells

ตัวอย่างในรูปที่ 2  แสดงแผ่นพิมพ์เขียวที่อาศัย Viewpoint ประกอบขึ้นจาก 3 Cells ตาม Zachman Framework  เป็นส่วนสถาปัตยกรรมองค์กรที่แสดงให้เห็นเจ้าหน้าที่ Sales Admin ซึ่งรับผิดชอบด้านบริการรับคืนสินค้าจากลูกค้า โดยทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกระบวนการที่แสดงใน Business Process ที่ออกแบบโดยภาษา BPMN นอกจากนี้ยังได้กำหนดชุด Software Components ที่ให้บริการงานรับคืนสินค้าด้วย


บทความตอนที่ 8 จะอธิบายความหมายของ Views และ Viewpoints จาก IEEE 1471 และ ArchiMate