Saturday, February 25, 2012

กรณีศึกษาเรื่องสร้างบัณฑิตสาขาธุรกิจท่องเที่ยวสู่อาเซียน ตอนที่ 3


แนวความคิดการพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทของวิทยาการบริการ ตามที่ได้กล่าวมานั้น เป็นเรื่องความพยายามให้นักศึกษามีส่วนร่วม (Engaging students) ส่งเสริมให้เรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และให้ผู้สอนใช้หลักการ Density Principle สร้างนวัตกรรมด้านกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลุดพ้นจากเงื่อนไขของสถาน (Space) ที่และเวลา (Time) เพื่อให้นักศึกษานำไปเรียนรู้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยสรุป การพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทของวิทยาการบริการ ให้ความสำคัญในสิ่งต่อไปนี้

1.         นักศึกษาต้องสร้างคุณค่าด้านการศึกษาให้ตัวเอง (co-creation of value) อาจารย์เป็นเพียงผู้เสนอแนะและจัดทำข้อเสนอ (Offering) ในการสร้างค่าการศึกษา (value in education)
2.         การศึกษาเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ การเรียนจึงเป็นกระบวนการของ Co-production ที่ทำร่วมกันในกลุ่มนักศึกษา คณาจารย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.         ผลของการศึกษาเกิดจากสมรรถนะของนักศึกษา ในด้านการเรียนร่วมกับผู้อื่น และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
4.         เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อาจารย์สร้างข้อเสนอ (Offerings) ด้านการเรียน (กระบวนการเรียน) ที่มากคุณค่า ถ้าอาจารย์สร้างกระบวนการเรียนที่หลุดพ้นจากเงื่อนไขด้านสถานที่ (Space) และเวลา (Time) ได้
5.         การเรียนเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้สอนจึงทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความรู้ และบูรณาการ (Integrator)ให้ผู้เรียนนำไปสร้างคุณค่า นอกจากนี้ ผู้สอนยังเป็นผู้ขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Prime mover) ภายในเครือข่ายอย่างมีการบริหารจัดการและติดตามผลได้ 

จากแนวความคิดการพัฒนาการเรียนการสอนในบริบทข้อวิทยาการบริการ (New learning logic in the context of Service Science) ทำให้เราสามารถกำหนด Propositions หรือข้อสังเกต หรือข้อเสนอว่า การเรียนจะได้ผลลัพธ์สูงสุด จะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.         ผลการเรียนขึ้นอยู่กับความสามารถของอาจารย์ที่จะ Liquefy ความรู้ และ Unbundle กระบวนการรียน เพื่อนำไป Reconfigure กระบวนการเรียนรูปแบบที่เหมาะกับหัวข้อเรียน (Offerings)
2.         ความสามารถในการดูดซับความรู้ขึ้นอยู่ที่สมรรถนะของการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.         ผลสัมฤทธิ์ขึ้นอยู่ที่ความสามารถของอาจารย์ที่จะทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยยึดหลักการช่วยตัวเอง
4.         อาจารย์ที่เข้าใจพฤติกรรมการเรียน และภูมิหลังของนักศึกษา จะสามารถออกแบบกระบวนการเรียนที่ดีให้นักศึกษาได้
5.         การเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม และเป็นเครือข่ายจะได้ผลดี อาจารย์ต้องเข้ามีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย
6.          นักศึกษาจะเป็น Co-creator of value ที่ดี และได้ผลสัมฤทธิ์ อาจารย์ต้องทำหน้าที่เป็น prime mover ขับเคลื่อนกระบวนการสร้างคุณค่า ด้วยวิธีบริหารจัดการ และติดตามการสร้างคุณค่าอย่างใกล้ชิด

การออกแบบกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคนิค Blueprint
ผู้สอนจะออกแบบกระบวนการเรียนการสอนตามแผนการสอน โดยยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง หมายถึงให้ออกแบบการเรียนแต่ละตอน โดยพิจารณาจากสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำ เช่น เข้าเรียนในชั้นเรียน หรือทบทวนบทเรียนจากวิดีทัศน์ แล้วกำหนดกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนโดยตรงจากอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมเรียน หรือการสนับสนุนด้วยระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การออกแบบอาจอาศัยเทคนิคของ Flowcharting ที่จะช่วยให้เห็นภาพรวมของกระบวนการเรียนได้ชัดเจน แต่ในโครงการนี้ แนะนำให้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Service Blueprint ที่มาจากข้อแนะนำของ Lynn Shostack (1984) และต่อมา Bitner และคณะ (Bitner et al., 2007) ได้นำมาเผยแพร่เพื่อการออกแบบระบบบริการอย่างกว้างขวาง
ภาพ Flowchart แบบ Blueprint แบ่งการนำเสนอเป็น 5 ส่วนดังนี้
1)        ส่วนที่แสดงสิ่งสนับสนุนทางกายภาพ (Physical Evidence) หมายถึงสถานที่ หรือวัตถุใด ๆ ที่เป็นลักษณะทางกายภาพที่ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการการเรียน เช่นห้องเรียน ห้องปฎิบัติและทดลอง ฯลฯ
2)        ส่วนที่แสดงเป็นจุดสัมผัส (Touch point) หรือสิ่งที่เกี่ยวกับการกระทำที่ผู้เรียนต้องทำภายใต้กระบวนการเรียน (Student action) เช่น เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน การทำการบ้าน การทบทวนบทเรียน ฯลฯ
3)        ส่วนที่แสดงการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน หรือผู้ให้บริการ กับผู้เรียน เป็นการปฎิสัมพันธ์ที่มองเห็นและจับต้องได้ เช่น อาจารย์ให้คำแนะนำ อาจารย์ไปบรรยายในชั้นเรียน
4)        ส่วนที่แสดงการสนับสนุนผู้เรียนที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ เช่นการบริการด้วยระบบซอฟต์แวร์ หรือด้วยผู้ให้บริการที่อยู่ Backstageไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับผู้เรียน เช่นผู้ช่วยสอนที่ให้คำแนะนำผ่าน eMail หรือ Online chat (Invisible contact)
5)        ส่วนที่แสดงการสนับสนุนที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์และระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นระบบ MBL Servaer ระบบ Sakai ระบบ eMail ฯฯ
               Blueprint ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นการออกแบบการเรียน ประกอบด้วย Touch point หรือ Student action เช่น การเข้าฟังบรรยาย การทำการแบบ การทบทวนบทเรียน การปรึกษาหารือกัน การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร และการประเมิผล

โครงสร้างของระบบบริการการเรียนการสอน (Learning Platform)
ระบบบริการการเรียนการสอนถูกออกแบบให้เป็นเวที เพื่อผู้สอนได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของผู้สอนที่มีคุณภาพ กล่าวคือ 1) สอนได้ชัดเจนขึ้น 2) มีวิธีสอนที่หลากหลาย ผสมด้วยการสอนในชั้นเรียน กับเครื่องมืออีเลิร์นนิ่ง 3) เพิ่มความเอาใจใส่ในการสอน ด้วยการปฎิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4) มีมาตรการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และ 5) จัดรูปแบบเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนดูดซับความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
1)        ให้ผู้สอนสอนได้ชัดเจน โดยเลือกใช้เครื่องมือช่วยสอนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นวีดิทัศน์ Podcasting, E-Learning ตามมาตรฐาน SCORM และอื่น ๆ ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ ผู้สอนจะออกแบบเนื้อหา และวิธีถ่ายทอดความรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเข้าใจง่าย ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำ และฟังซ้ำได้ จนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
2)        มีวิธีสอนที่หลากหลาย ผู้สอนจะเลือกใช้เครื่องมือช่วยสอนที่มีหลากหลายชนิดตามความเหมาะสม โดยเน้นผลการเรียนเป็นหลัก เครื่องมือช่วยสอนนอกจากที่กล่าวในข้อที่ 1) ยังมีเครื่องมือในกลุ่ม Web 2.0 ที่จะช่วยให้ผู้เรียนใช้ปรึกษาหารือกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เพื่อทำ Webinar และใช้เป็น Cyber classroom
3)        เพิ่มความเอาใจใส่ในการสอน ด้วยการใช้เครื่องมือสื่อสนทนาสองทาง ได้แก่กลุ่มเครื่องมือ Web 2.0 ที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งเครือข่ายสังคม เช่น Twitter, Facebook, etc.  ทำให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียน และสามารถเข้าถึงปัญหา และช่วยแก้ไขปัญหาได้ เมื่อต้องการ
4)        มีมาตรการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมหมายถึงการเรียนด้วยตัวเอง และทำกิจกรรมที่รับมอบหมายด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เช่น Wiki, Blogs, Web conference ฯลฯ
5)        จัดรูปแบบเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม  ผู้สอนจะแบ่งบทเรียนเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้เรียนและทำงาน โดยระบบบริการจะสามารถ Monitor และเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผล และจัดการการเรียนและการสอนได้
ด้วยข้อกำหนดและคุณลักษณะที่กล่าวข้างต้น ระบบบริการจึงถูกออกแบบให้มีโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ๆ สี่ส่วนดังนี้
1)        ส่วนที่ให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าถึงระบบเพื่อการสอนและการเรียน ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็บพีซี ฯลฯ
2)        ส่วนที่เป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนการสอน เนื่องจากระบบถูกออกแบบให้ผสมผสานระหว่างการเรียนในชั้นเรียน (Manual process) และเรียนด้วยกระบวนการคอมพิวเตอร์ (Computerized process) การสอนในชั้นเรียนจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือเพื่อการเรียนด้วย ระบบบริการ ถูกออกแบบให้ใช้ระบบ Collaborative Learning Environment (CLE) หรือระบบ Learning Management System (LMS) สำหรับบริหารจัดการ Learning contents และนำเสนอเนื้อหาเพื่อการเรียน นอกจากนี้ ยังมีระบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดการและนำเสนอเนื้อหาประเภทวีดิทัศน์ และระบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อจัดการงานด้าน Web conference และ Cyber classroom
3)        ส่วนของระบบสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านระบบอีเมล์ SMS และสื่อสังคมที่เป็นเครือข่ายสังคมสาธารณะ เช่น Twitter, Facebook, etc.
ภาพที่แสดงส่วนประกอบทางกายภาพของระบบบริการการเรียนการสอน ดูได้จาก Link นี้

Saturday, February 18, 2012

กรณีศึกษาเรื่องสร้างบัณฑิตสาขาธุรกิจท่องเที่ยวสู่อาเซียน ตอนที่ 2


ตอนที่  1 ได้อธิบายเรื่อง Service Vision, Motivation และ แนวคิดการสร้าง Offering ของโครงการผลิตบัณฑิตสาขาธุรกิจท่องเที่ยวสู่อาเซียน ในตอนที่ 2 นี้จะพูดถึงความหมายและความสำคัญของ Reconfiguration และ Density Principle ในบริบทของวิทยาการบริการ พร้อมด้วยตัวอย่าง ตอนที่ 3 จะจบด้วยตัวอย่างของ Service Blueprint และการออกแบบระบบ Service system เพื่อใช้เป็น Learning platform 

Reconfiguration: หรือการจัดรูปแบบใหม่ ในที่นี้ หมายถึงการจัดรูปแบบกระบวนการเรียนการสอน (Pedagogy design) เพื่อบริการนักศึกษา ตามหลักคิดของวิทยาการบริการ เราจะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่ Co-production และยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง คือสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างคุณค่าจากการเรียนด้วยตนเอง ให้นักศึกษาได้รับประโยชน์สูงสุด จากทรัพยากรและความร่วมมือของคนทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง  ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างที่พวกเราใช้กันในทุกวันนี้ เรามีทางเลือกเพื่อสร้างคุณค่ามากขึ้น เราสอนหนังสือผ่านสื่อวิดีทัศน์ได้ สอนผ่านระบบห้องเรียนเสมือน (Cyber classroom) โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Video conferencing ได้ เราสอนด้วยการใช้เทคนิคอย่างเช่น Powerpoint เป็นเครื่องมือนำเสนอ พร้อมบรรยายด้วยเสียงในลักษณะ Podcasting ได้ เราให้นักศึกษาถามและให้อาจารย์ตอบผ่านระบบสนทนาออนไลน์ได้ และอื่น ๆ อีกมาก นอกจากเทคนิคที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนที่กล่าว ยังมีเทคนิคที่ใช้ Liquefy (Digitize) ความรู้ทั้งความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) และความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ได้อย่างง่ายดายและสะดวก เช่นสร้างบทเรียนเป็น E-Learning หรือ Digitize บทเรียนและบทความเป็นอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ Microsoft Word หรือ PDF  เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น กลายเป็นเครื่องมือหลากหลายชนิด ที่ถูกนำมาใช้ประกอบ (Reconfigure)  ให้เป็นกระบวนการเรียนการสอนในแนวใหม่ ๆ  ให้นักศึกษาได้สร้างคุณค่าอย่างมีประสิทธิผล และมากมาย (Value density) ข้อสังเกตที่น่าสนใจข้อหนึ่งคือ ตามแนวคิดของ Reconfiguration อาจารย์จะออกแบบกระบวนการสอนแบบ Customized หรือ Personalized ให้เหมาะกับกลุ่มนักศึกษาได้ ซึ่งในยุคก่อน ทำได้ค่อนข้างยากและสิ้นเปลือง
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอน ยังช่วยปลดเงื่อนไขเรื่องเกี่ยวกับสถานที่เรียนและเวลาเรียน ซึ่งเหมาะกับหลักสูตรนา ๆ ชาติ ที่มีนักศึกษาจากกลุ่มประเทศในอาเซียนที่จะเรียนร่วมกัน แต่จะไม่เรียนร่วมกันทางกายภาพ ไม่ต้องเดินทางเสียเวลาและเสียเงินทอง การปลดเงื่อนไขจากสถานที่ทางกายภาพ มีผลให้ปลดเงื่อนไขในเรื่องเวลาด้วย หมายถึงนักศึกษาจะเรียนได้จากทุกที่ และทุกเวลา ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับโครงการที่เรียนด้วยตัวเอง โดยนักศึกษาจากทุกมุมโลก แต่เราต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเช่นกัน การบริหารจัดการการเรียนลักษณะที่กล่าว จำเป็นต้องถูก Reconfigured ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการ (Service system) ด้วย กลุ่มเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนที่กล่าว เมื่อนำมาผสมผสานกัน ทำให้เกิดคุณค่าได้มหาศาลตามหลักการของ Density Principle ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของการสร้างคุณค่าสองประการ คือ Liquification ที่ทำให้องค์ความรู้และข้อมูลมีความรื่นไหล (Access และเชื่อมโยงกันได้ในวงกว้างผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่น ได้อย่างสะดวก) และ Unbundleability คือความสามารถในการแยกกระบวนการทำงาน ในที่นี้ คือกระบวนการเรียนการสอน ให้เป็นกระบวนการย่อย ๆ มากมาย ที่จะถูกนำไปประกอบเป็นกระบวนการเรียนการสอนใหม่ (Reconfigured)ได้ ข้อสำคัญคือ กระบวนย่อยที่ถูกแยกตัวออกจากกระบวนใหญ่เดิม ต้องมีคุณสมบัติแบบ Re-bundleability หมายถึงถูกนำไปประกอบกันกับกระบวนย่อยอื่น ให้เป็นกระบวนการเรียนการสอนใหม่ได้ เงื่อนไขด้านสถานที่และด้านเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพิจารณาการแยกตัวจากกระบวนการใหญ่ให้เป็นกระบวนการย่อย การ reconfigure กระบวนการเรียนการสอนชุดใหม่ ต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการเรียนในยุคใหม่ที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมให้เกิด Co-creation ที่นำไปสู่การสร้างความรู้ด้วยตัวเองในกลุ่มนักศึกษา กระบวนการเรียนย่อย ยังอาจเป็นกิจกรรมแบบเดิมได้ เช่นเรียนในชั้นเรียน ถึงแม้จะยังเป็นกิจกรรมที่ถูกยึดติดกับสถานที่ทางกายภาพ และเวลา แต่ถ้าอาจารย์ผู้ออกแบบเห็นว่ายังมีประโยชน์สำหรับสถานการณ์หนึ่ง ๆ ก็อาจถูกนำมา Reconfigure ให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนใหม่ได้  
Liquification และ Unbundleability ทำให้เราจัดรูปแบบทรัพยากรเพื่อการศึกษา (รวมเครื่องมือช่วยการเรียน วิธีสอน วิธีเรียน เนื้อหาสาระที่สนับสนุนการเรียนการสอน) ให้เป็นส่วนย่อย ๆ แล้วถูกนำกลับมารวมตัวกัน เพื่อให้นักศึกษาใช้ในแต่ละคาบของการเรียนได้อย่างเหมาะสมและตอบโจทย์แต่ละสถานการณ์ได้ สมมุติว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาฝึกทักษะด้านวิเคราะห์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม อาจารย์อาจกำหนดให้นักศึกษาทำกิจกรรม ประกอบด้วย อ่านบทความจากอินเทอร์เน็ต ทำการวิเคระห์ แล้วให้นักศึกษารวมเป็นกลุ่ม ร่วมกันเขียนผลการวิเคราะห์เป็นรายงานฉบับเดียว คือช่วยกันเขียนหลาย ๆ คน กระบวนการเรียนการสอนที่กล่าว ประกอบขึ้นจากกิจกรรมย่อยสามเรื่อง ได้แก่ (1) อ่านบทความจากอินเทอร์เน็ต (2) วิเคราะห์บทความ และ (3) ร่วมกันเขียนรายงานโดยใช้เครื่องมือ Wiki ตัวอย่างกิจกรรมย่อยทั้งสาม มีคุณสมบัติแบบ “Re-bundleability” คือนำมาประกอบกัน (reconfigure) ให้เป็นกระบวนการใหม่สำหรับคาบการเรียนหนึ่งคาบได้ เช่นกระบวนการเรียน  นักศึกษาอ่านบทความจากอินเทอร์เน็ต ทำการวิเคราะห์ แล้วให้นักศึกษาเขียนรายงานเป็นทีมการ reconfigure กระบวนการสอนใหม่ จะเลือกใช้กระบวนการย่อยอะไรก็ได้ จำนวนเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่อาจารย์ผู้ออกแบบ การเลือกกิจกรรมย่อมมาผสมผสานกัน (Combination) ทำได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้การออกแบบกระบวนการสอนรูปแบบใหม่ (New learning pedagogy) สามารถสร้างคุณค่าสูงมาก (Density of value) และถือว่าเป็นกิจกรรมสร้างนวัตกรรมด้านบริการ (Service Innovation) สำหรับกรณีตัวอย่างนี้ ถ้าจะให้ Density Principle ทำงานได้เต็มที่ เราจะคิดหาวิธีนำทรัพยากรเกี่ยวกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอาเซียน และทรัพยากรของผู้ประกอบการ มาหล่อหลอมรวมกัน เพื่อให้เกิด Density ได้สูงสุด เป็นประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาในอาเซียน 

ขั้นตอนการ Reconfigure กระบวนการเรียนการสอน:
1.         Unbundle กระบวนการเรียนให้เป็นส่วนย่อย ๆ (Micro-processes) ผลปรากฎตามตัวอย่างในตารางต่อไปนี้

ชื่อของกระบวนการย่อย
Description
ใช้สำหรับ
กระบวนการเรียนแบบ Cyber classroom
เป็นการเรียนแบบ Face-to-Face (F2F) ผ่านอินเทอร์เน็ต อาศัยระบบ Web conference ประกอบด้วยฟังชั่น เช่น Shared desktop, Shared Webcam, Shared Audio, Whiteboard ทั้งหมดสนับสนุนการสอนแบบบรรยายประกอบด้วย Powerpoint  Presentation หรือใช้สอนเชิงปฎิบัติ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์
เรียนแบบ F2F ผ่านอินเทอร์เน็ต และการทำ Lab เช่น Programming Lab หรือสาธิตการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ต
กระบวนการทำรายงานเป็นทีมด้วยWiki/comments

เป็นเครื่องเขียนบทความเป็นทีม มีการ Log เวลาที่เข้าใช้เครื่องมือ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับประเมินความตรงต่อเวลา และความพร้อมเพรียงกันในการร่วมมือกันทำงานใช้สำหรับ Comment หรือวิพากย์ผลงานของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
1.         ทำงานเป็นทีม
2.         ความพร้อมเพรียงในการร่วมทำกิจกรรม
3.         วัดความมีจริยธรรม และคุณธรรม ด้วยผลการวิพากย์วิจารย์งานของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

กระบวนการนำเสนอ และพูดต่อสาธารณชนด้วย Web conference
เป็นเวทีสำหรับจัดการเสวนาผ่านอินเทอร์เน็ตผู้สอนอาจกำหนดให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการสัมนา โดยให้ผู้เรียนนำเสนอ ร่วมกับวิทยากรรับเชิญ
1.         สร้างความเป็นผู้นำ ด้วยการร่วมจัดงานเสวนา
2.         แสดงทักษะการนำเสนอ และ Interpersonal skills ด้วยการจัดอภิปรายกลุ่ม
กระบวนการถามตอบด้วย Forum
เป็นเครื่องมือสื่อสารเชิงสนทนา สามารถตั้งกระทู้ให้แสดงความคิดเห็นจากสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน
1.         เป็นเทคนิคให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
2.         เป็นเครื่องมือแสดงความกระตือรือร้นในการร่วมแก้ปัญหา
กระบวนการสร้างทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย Social Networks
เครือข่ายสังคมที่เชื่อมโยงกับผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สามารถ Post ข้อความ และความคิดเห็น
1.         ใช้ Post ข้อความเพื่อยกย่องความดี และชื่นชมผลงานของผู้เรียนในเชิงให้กำลังใจ
2.         ฝึกทักษะในการสื่อสาร
กระบวนการเรียนด้วยตัวเองด้วย VDO คลิป และ E-Learning/SCORM
สร้างเนื้อหาสาระจากบทเรียนเป็นส่วน ๆ ในรูปของ VDO คลิป และทำเป็น E-Learning ตามมาตรฐานของ SCORM หรือ IMS
สนับสนุนการเรียนรู้ และการทบทวนเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาลึกซึ้งยิ่งขึ้น

2.         Liquification เป็นการ Digitize เนื้อหาสาระเพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วยตัวอย่างดังนี้
a.         Video clips
b.         E-Learning (SCORM หรือ IMS)
c.         E-Books
d.         Podcasing
e.         Electronic presentation (Powerpoint)
f.          E-document (Microsoft Word, PDF)
g.         Wiki document
h.         Blogs
i.           Forum content
j.           Other electronic media

แนวคิดที่สำคัญของวิทยาการบริการ คือ Co-production ซึ่งมีสามระดับ ได้แก่ (1) Co-creation คือการสร้างคุณค่าด้วยตัวนักศึกษาเอง (2) Co-production เป็นการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นการร่วมมือกันแบบชุมชน (Community) เช่นนักศึกษาร่วมทำโครงการและเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนนักศึกษา และ (3) Value-constellation เป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงาน หรือองค์กรที่ต่างบริหารทรัพยากรของตนเองอย่างเป็นอิสระ เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมกัน เช่น การร่วมมือกันบริหารและบริการหลักสูตรตามตัวอย่างระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยในอาเซียน รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศยังสนับสนุนให้การออกแบบ Offering เพื่อการเรียนการสอน ด้วยวิธี Co-creation, co-production, และ value constellation ทำได้อย่างมีประสิทธิผลอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เราจะจบกรณีศึกษาชุดนี้ในตอนต่อไป ด้วยการนำผลจาก Liquification และ Unbundling ข้างต้นไป reconfigure กระบวนการเรียน แล้วใช้เทคนิค Service Blueprint ออกแบบระบบ Service system เพื่อใช้เป็น learning platform ด้วย